หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

กองทัพธรรมพระเจ้าอโศก วันที่โลกได้รู้จักพระพุทธเจ้า

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

แผ่นหินสลักรูปพระเจ้าอโศกและพระมเหสี 2 องค์ ขุดพบที่เนินเขาลังกุฎี รัฐโอริสสา

เมื่อพระถังซัมจั๋งได้เดินทางมาถึงแคว้นกลิงคะ ท่านบันทึกไว้ว่า ได้เห็นสถูปที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้มากมาย และมีอยู่องค์หนึ่งที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวพุทธจากทั่วสารทิศจะมาสักการะกัน สถูปนี้อยู่ที่ปุษปะคีรี ซึ่งนักโบราณคดีพยายามตามหาเมืองปุษปะคีรีกันอยู่นาน จนได้มาพบเนินดินใหญ่ที่ชื่อเนินเขาลังกุฎี (Langudi Hill) และเริ่มขุดกันเมื่อสิบปีมานี่เอง

ลักษณะสถูปของพระเจ้าอโศก ฐานจะเป็นทรงสี่เหลี่ยม...จากการขุดค้นได้พบเสารั้วที่ล้อมพระสถูปสี่ด้าน ทั้งแบบเรียบและแกะลวดลาย ซึ่งเสารั้วแบบเรียบคือหลักฐานอย่างดีที่จะบอกว่าสถูปองค์นี้สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกและที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คือ ตรงทางเข้าสถูปนี้ได้ขุดพบรูปพระเจ้าอโศกเป็นครั้งแรกในอินเดีย...เป็นรูปแกะสลักหิน ที่ฐานของรูปแกะสลักมีอักษรจารึกเอาไว้เป็นคำว่า “ราชาอโศก”

ดร.ประธานพยายามค้นหาจนได้รูปถ่ายเก่ามาใบหนึ่ง ถ่ายไว้ขณะที่ขุดพบใหม่ๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าด้านซ้ายของรูปสลักนั้นน่าจะเป็นรูปพระมเหสีองค์หนึ่ง แต่แตกหักไปแล้ว ส่วนด้านขวาเป็นรูปพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแกะสลักกษัตริย์ประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงเครื่องทรงและเครื่องประดับที่พบในสมัยพระเจ้าอโศก ทั้งรูปแบบมงกุฎ ต่างหู และสร้อยสังวาลสะพายบ่า

พระมหาสถูปสาญจี รัฐมัธยประเทศ

การขุดสำรวจในครั้งนั้นยังได้พบฝาผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ไม่พบตัวผอบ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าน่าจะมีการย้ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปโดยกษัตริย์ในยุคหลัง และอาจสร้างพระสถูปขึ้นมาใหม่แล้วบรรจุไว้ในนั้น ขณะที่ในละแวกใกล้เคียงยังมีสถูปอีกแห่งที่ยังไม่ได้ขุดสำรวจ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าพระบรมสารีริกธาตุอาจจะยังคงอยู่ในนั้น ซึ่งลักษณะของสถูปยังชี้ว่าสร้างขึ้นในปลายสมัยคุปตะ

ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงนำกองทัพธรรมยาตราไปทั่วราชอาณาจักร ทรงชนะจิตใจของประชาชนด้วยการปกครองแผ่นดินโดยธรรม เมื่อเสด็จไปจาริกธรรมที่ใดก็ยังได้นำเสาหินทรายขนาดใหญ่ที่แกะสลักไว้อย่างงดงามไปประดิษฐานไว้ในสถานที่สำคัญในพุทธศาสนาทุกแห่ง

ปัจจุบันนักโบราณคดียังไม่ละความพยายามในการตามหาเสาพระเจ้าอโศกเหล่านั้น หลังจากที่พบแล้วราว 20 ต้น จากจำนวนที่คาดว่าน่าจะมีอยู่ไม่น้อยกว่า 40 ต้น เช่นเดียวกับสถูปเจดีย์และวิหารอีกนับหมื่นแห่งที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้มีที่ศึกษาพระธรรมวินัยและสั่งสอนประชาชน

นี่เองที่ทำให้อารยธรรมของพุทธศาสนาในอินเดียถูกปลุกให้ตื่นอีกครั้ง หลังจากที่หลับใหลไปราว 700 ปี เมื่อพุทธสถานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกได้ทยอยกันเผยโฉมหน้าออกมา จากการขุดค้นของหน่วยงานโบราณคดีที่อังกฤษตั้งขึ้นเมื่อครั้งที่เข้ามาปกครองอินเดีย

การค้นพบพระมหาสถูปที่เนินเขาสาญจีในรัฐมัธยประเทศยืนยันได้ว่าอิทธิพลของศาสนาพุทธได้แผ่ขยายจากภาคเหนือลงมาสู่ภาคกลางของอินเดียแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก นับเป็นครั้งแรกที่ได้พบ พุทธสถานอายุเก่าแก่ที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในอินเดีย แม้กระทั่งหินที่ใช้สร้างบันไดขึ้นพระสถูปก็พบว่าเป็นหินดั้งเดิมตั้งแต่แรกสร้างทั้งสิ้น

ประตูด้านเหนือของพระมหาสถูปสาญจี ที่ถูกแกะสลักตบแต่งอย่างสวยงาม

เมื่อแรกที่พระเจ้าอโศกเริ่มสร้างพระมหาสถูปสาญจีนั้น องค์สถูปยังคงสร้างด้วยดิน และมีการบูรณะเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องหลังจากนั้น เช่น รั้วหินที่ล้อมพระสถูปถูกสร้างในอีก 100 ปีต่อมา

และหลังจากที่สร้างรั้วหินมาได้ 100 ปี จึงมีการสร้างประตูหินทั้ง 4 ทิศ พร้อมจำหลักภาพพุทธประวัติและชาดกประดับตกแต่งไว้อย่างงดงาม

คำถามมีอยู่ว่า หลังจากสิ้นราชวงศ์เมารยะของพระเจ้าอโศก กษัตริย์ราชวงศ์ต่อมาก็ไม่ได้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธ แล้วใครคือผู้สร้างผลงานเหล่านี้ คำตอบน่าจะอยู่ที่ว่า ในสมัยนั้นประชาชนนั่นเองที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะเพื่อศาสนา เพราะตั้งแต่พระเจ้าอโศกได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนไปทั่วประเทศ ศาสนาพุทธก็ได้หยั่งรากลึกลงในใจของประชาชนอย่างมั่นคงแล้ว

ประตูด้านตะวันออกของพระมหาสถูปสาญจี

ธรรมเนียมการสร้างพระสถูปเจดีย์นี้เป็นความเคลื่อนไหวระลอกใหม่ของ ศาสนาพุทธ ที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก น่าสนใจว่าธรรมเนียมนี้ไม่ได้มาจากพระธรรมวินัยหรือการตีความของพระสงฆ์ แต่มาจากความรู้สึกนึกคิด จินตนาการของคนธรรมดา แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถใช้รูปมนุษย์ธรรมดาเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหาบุรุษได้ พระสถูปเจดีย์จึงถูกสร้างสรรค์ด้วยความคิดและฝีมือของประชาชน เช่น รูปสลักยักษ์แบกเสายังแทนถึงคนร่ำรวยและมีอำนาจที่ช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาไว้

ในยุคนั้น ใครที่ร่วมบริจาคทรัพย์สินเพื่อสร้างพระสถูปก็จะสลักชื่อไว้บนแผ่นหินด้วย

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

ที่มา จากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"


ไปข้างบน