หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

กองทัพธรรมพระเจ้าอโศก วันที่โลกได้รู้จักพระพุทธเจ้า

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

ภาพแกะสลักรูปต้นโพธิ์ประดับองค์พระสถูปสาญจี

ภาพจำหลักหินบนรั้วและประตูสี่ทิศที่ล้อมรอบพระสถูปทำให้เรารู้ว่ากว่า 500 ปีหลังการเสด็จปรินิพพานก็ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป เพราะประติมากรรมรอบองค์พระสถูปได้ใช้สัญลักษณ์อื่นแทนพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น เช่น ใช้ช้างและดอกบัวแทนพระพุทธเจ้าในยามประสูติ สร้างรูปต้นโพธิ์ที่เคยประทับแทนพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้ว เมื่อจะเล่าเรื่องตอนปฐมเทศนาก็ใช้รูปธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ และใช้รูปพระสถูปเป็นสัญลักษณ์แทนยามปรินิพพาน

นอกจากนี้ถ้าภาพแกะสลักชิ้นไหนมีรูปรอยพระบาทจะหมายถึงการปรากฏองค์ของพระพุทธเจ้าในสถานที่นั้น แม้กระทั่งสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัยที่มองเห็นโดดเด่นที่สุดในมหาสถูปสาญจี ก็ยังใช้สัญลักษณ์ตรีศูลและร่มแทนพระพุทธ รูปธรรมจักรแทนพระธรรม และรูปดอกบัวแทนพระสงฆ์

ภาพแกะสลักรูปรอยพระพุทธบาท



พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่หน้าซุ้มประตูทั้งสี่

แล้วพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่หน้าซุ้มประตูทั้งสี่ทิศถูกนำเข้าเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าตั้งแต่เมื่อไหร่

คำตอบถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อได้มีการค้นพบรอยจารึกบนรั้วหินด้านหนึ่งว่า พระเจ้าจันทรคุปต์เป็นผู้ที่นำพระพุทธรูปทั้งสี่องค์มาประดิษฐานไว้เมื่อราว 800 ปีหลังพุทธกาล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ได้มีการสร้างสถูป สร้างรั้วและประตูทั้งสี่ทิศไปแล้วหลายร้อยปี

ภาพจำหลักหินเหล่านี้ยังได้บันทึกพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกเมื่อคราวเสด็จมาสักการะพระศรีมหาโพธิที่พุทธคยา ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาพุทธที่ศรีลังกาไว้ด้วย

แต่หลังจากพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ก็ไม่พบร่องรอยของชุมชนพุทธที่นี่อีก ไม่มีใครรู้ว่าความรุ่งเรืองของ ศาสนาพุทธ ที่สาญจีถึงจุดจบลงเพราะเหตุใด จะรู้แต่เพียงว่าไม่ได้ถูกทำลายลงเพราะสงครามเท่านั้น

ภาพแกะสลักบนประตูด้านตะวันตกของพระมหาสถูปสาญจี แสดงพระพุทธประวัติตอนที่โทณพราหมณ์เข้ามายุติปัญหาการแย่งพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อสิ้นสุดยุคของพระเจ้าอโศก อาณาจักรเมารยะของพระองค์ก็เล็กลงเรื่อยๆ เกิดแคว้นเล็กแคว้นน้อยขึ้นปกครองตัวเองไปทั่ว และบางส่วนก็ยังนับถือศาสนาพุทธอยู่ จนกระทั่งราชวงศ์ศุงคะเข้ามาปกครองแคว้นมคธ ก็ไม่ได้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธที่มคธอีกต่อไป

กล่าวกันว่าในช่วงนี้มีพระภิกษุสงฆ์จำนวนไม่น้อยได้อพยพออกจากแคว้นมคธลงไปอยู่ทางใต้ฝั่งตะวันตก หรือบริเวณที่เรียกว่าที่ราบสูงเดกกันในรัฐมหาราษฏระ

วัดถ้ำอชันตา มองจากมุมสูง

ฉันเดินทางต่อมาถึงมุมไบ เมืองหลวงของรัฐมหาราษฏระ มุมไบเป็นเมืองท่าชายฝั่งตะวันตกที่เจริญที่สุดของอินเดีย สั่งสมความเจริญมั่งคั่งจากการค้ากับนานาประเทศมานาน ตั้งแต่สมัยโบราณ ที่นี่เป็นหนึ่งในดินแดนที่พระสมณทูตของพระเจ้าอโศกนำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแผ่ คือตอนเหนือของมุมไบ และแคว้นมหาราษฏระบนที่ราบสูงเดกกัน เพื่อเดินทางต่อไปยังถ้ำอชันตาที่ได้ชื่อว่าเป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก

เรื่องราวการสร้างวัดถ้ำของพระสงฆ์ก็ได้เริ่มต้นขึ้นที่นี่ตั้งแต่พุทธศักราช 350

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

ที่มา จากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"


ไปข้างบน