หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

กำเนิดแห่งจตุคามรามเทพ


จตุคามรามเทพ รุ่นพระบรมธาตุเจดีย์ศรีวิชัย ปางชัยชนะ 5.3 ซม. เนื้อผงไม้เศรษฐี

เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มผู้นับถือว่า จตุคามรามเทพมีความเกี่ยวพันกับอดีตบูรพกษัตริย์ของอาณาจักรศรีวิชัย โดยเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่มีพระนามว่าพระเจ้าจันทรภาณุ ผู้ทรงสถาปนาอาณาจักรศรีวิชัย สถาปนาเมือง 12 นักษัตรหรือกรุงศรีธรรมาโศกราช พร้อมทั้งลงหลักปักฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวรบนแผ่นดินศรีวิชัย-สุวรรณภูมิ จนได้รับเทิดพระเกียรติให้เป็น “พญาศรีธรรมาโศกราช”

ทั้งนี้ ตามหลักพุทธศาสนานิกายมหายานเชื่อว่า พระมหากษัตริย์เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์ ดังนั้น ผู้คนจึงนับถือจตุคามรามเทพเสมือนหนึ่งพระโพธิสัตว์ที่ทรงช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ยากลำบาก ขณะที่ “พังพะกาฬ” ที่นิยมสร้างควบคู่กับจตุคามรามเทพในขณะนี้ด้วยนั้นถือเป็นนิรมานกายอีกภาคหนึ่งที่มีฤทธิ์ของจตุคามรามเทพ ซึ่งก็ได้รับความนิยมเช่นกัน

ส่วนการที่จตุคามรามเทพถูกขนานนามว่า ราชันดำแห่งทะเลใต้นั้น เพราะอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ติดทะเลชวาและพระวรกายของพระองค์มีสีเข้ม

อย่างไรก็ตาม ชื่อของจตุคามรามเทพเริ่มเป็นที่รู้จักและปรากฏสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรกในการสร้างศาลหลักเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช

“ตอนที่สร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช คณะกรรมการหลายท่านต่างก็หยิบยกเทพหลายองค์ด้วยกันให้มาช่วยปกปักรักษาเมือง แต่สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่าเป็นจตุคามรามเทพเพราะพระองค์คือพระมหากษัตริย์แห่งเมืองนครฯ อยู่แล้ว”

“จริงๆ แล้ว คนนครศรีธรรมราชมีความศรัทธาและนับถือในจตุคามรามเทพมานานแล้ว เช่นเดียวกับวัตถุมงคลจตุคามคามเทพ ซึ่งผู้ที่นำไปใช้ต่างได้รับประสบการณ์จากองค์พ่อมากมาย เพียงแต่ทุกอย่างเป็นไปอย่างเงียบๆ”ฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดชให้ข้อมูล


จตุคามรามเทพ รุ่นพระบรมธาตุเจดีย์ศรีวิชัย ปางชัยชนะ 5.3 ซม. เนื้อผงว่าน เขียว

ด้าน สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เล่าว่า จุดกำเนิดเริ่มจากการที่พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล เมื่อครั้งยังเป็นพ.ต.อ.และได้รับมอบหมายให้ไปเป็นผู้การที่นครศรีธรรมราชเพราะขณะนั้นได้เกิดความวุ่นวายในเมืองมาก นายสุรชัย แซ่ด่านได้บุกเข้าเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัด นายคล้าย จิตพิทักษ์ ผู้ว่าฯ ในขณะนั้นจึงคิดหาทางสร้างหลักเมืองเพื่อหวังจะให้เกิดความสงบในเมือง และได้เชิญ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชมาเป็นประธาน แต่ก็ไม่สามารถสร้างได้ โดย พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชให้เหตุผลว่า ดินแดนนี้เมื่อพันกว่าปีมาแล้วเป็นของอาณาจักรศรีวิชัยและปกครองโดยจตุคามรามเทพ ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิแห่งทะเลใต้ ทว่า ผู้ว่าฯ เป็นเพียงเจ้าเมืองบารมีไม่ถึง ผู้ว่าฯ จึงได้ทำพิธีขอขมาและต่อมาภายหลังก็ได้ลาออกจากราชการและประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิต

ต่อมา พล.ต.ท.สรรเพชญ ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานทอดผ้าป่าที่วัดนางพระยา และได้รับการบอกกล่าวจากจตุคามรามเทพว่า อนุญาตให้ตั้งศาลหลักเมืองได้ และเมื่อชาวบ้านนครศรีธรรมราชได้ทราบว่าจะมีการสร้างศาลหลักเมือง ก็ได้ไปขอไม้ตะเคียนเก่าแก่อายุกว่าร้อยปี แต่เมื่อโค่นต้นไม้แล้วกลับไม่สามารถลากไม้ออกไปได้ จนต้องให้คนทรงมาบอกกล่าว จึงเอาไม้ออกไปได้

“ท่านสรรเพชญวิตกเกี่ยวกับเรื่องทุนในการใช้ก่อสร้าง จึงคิดจะหาทุนด้วยการให้เช่าวัตถุมงคล แต่ก็คิดว่าถ้าไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์แล้วประชาชนจะไม่เชื่อถือ จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์จตุคามรามเทพ และเชิญลงมาประทับคนทรง จตุคามรามเทพกล่าวผ่านคนทรงว่าในวันบวงสรวงหลักเมือง เมื่อฆ้องตีครบเก้าครั้งตามเวลาที่กล่าวไว้ ปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้น แล้วเมื่อถึงเวลาดังกล่าว ทันทีที่ตีฆ้องครั้งที่เก้าเสร็จ ก็ปรากฏฝนห่าใหญ่เทลงมาพร้อมกับน้ำป่าที่ไหลหลาก แต่บริเวณที่บวงสรวงกลับมีแสงจ้าจากพระอาทิตย์ที่กำลังทรงกลดอยู่เหนือหลักเมืองอย่างอัศจรรย์ที่สุด”สนธิกล่าว


จตุคามรามเทพ รุ่นบูรณะศาลหลักเมืองปี 2547 เนื้อไม้ตะเคียน 2 โค๊ดตอกตัวเลข (272)

สำหรับวัตถุมงคลจตุคามรามเทพนั้น สร้างขึ้นครั้งแรกในคราวที่มีการตั้งศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช คือในปี 2530 โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญในการจัดสร้างมี 3 คนด้วยกันคือ
1.พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
2.พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
3.โกผ่อง-นายอะผ่อง สกุลอมร

ส่วนวัตถุมงคลจตุคามรามเทพที่สร้างพร้อมกันเพื่อหาเงินมาใช้ในการสร้างศาลหลักเมืองนั้น มีประมาณ 9 ประเภทคือ
1.เศียรองค์จตุคามรามเทพ
2.ธงและผ้ายันต์
3.ผ้ายันต์ใหญ่ 108 ผืน ผ้ายันต์เล็ก 3,000 ผืน
4.พระผงหลักเมือง
5.พระผงพุทธสิหิงค์
6.เหรียญพังพะกาฬ
7.เหรียญโลหะทองแดง
8.สติกเกอร์รูปราหูอมจันทร์ และ
9.วัตถุมงคลที่ระลึกในพิธีการต่างๆ

ที่น่าสนใจก็คือ มีเรื่องเล่ากันว่า ในขณะที่องค์พ่อประทับทรงนั้น องค์พ่อได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “เก็บเอาไว้ให้ดีของ ๆ เราจะแพงขนาดพระสมเด็จวัดระฆัง”


จตุคามรามเทพ รุ่นบูรณะศาลหลักเมืองปี 2547 เศียรหลักเมือง เนื้อผงสีขาว

ด้านสถานที่สำคัญที่ประชาชนผู้ศรัทธาในจตุคามรามเทพนิยมเดินทางไปกราบไหว้บูชามีหลายแห่งด้วยกัน ถ้าเป็นในนครศรีธรรมราชก็มี 3 แห่งคือ
1.ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ด้วยความที่มีการบวงสรวงขอบารมีจตุคามรามเทพให้มาเป็นเทพรักษาเมือง
2.วัดนางพระยา ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เหตุด้วยเป็นสถานที่แรกที่มีการประทับทรงอัญเชิญจตุคามรามเทพ และ
3.วัดพระบรมธาตุ ที่มีรูปปั้นของจตุคามรามเทพประดิษฐานไว้ที่บริเวณบันไดทางขึ้นก่อนเข้าประตูไปสู่องค์พระบรมธาตุ

ขณะที่ในต่างจังหวัดก็มีผู้สร้างจตุคามรามเทพขนาดใหญ่ไปประดิษฐานหลายแห่งด้วยกัน อาทิ
วัดอุบลวนาราม(วัดบัว) ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดคอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา
วัดรวก ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
วัดสุทธาราม คลองสาน กทม.
วิหารพ่อที่ จ.นราธิวาส
รวมทั้งที่เมืองอิโป ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น


จตุคามรามเทพ รุ่นสองแผ่นดิน เหรียญพลังจักรวาล เนื้อทองเหลือง

สำหรับในปัจจุบัน จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมกับบรรดาเซียนพระ พบว่า กลุ่มใหญ่ในการสร้างจตุคามรามเทพในปัจจุบันมีหลายกลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1.โกผ่องหรือนายอะผ่อง สกุลอมร เนื่องจากเป็นร่างทรงคนแรกในการทำพิธีสร้างศาลหลักเมืองและจตุคามรามเทพรุ่นแรกในปี 2530
2.พระใบฎีกาปรานพ ฐิตคันโธ หรือ หลวงหนุ่ยแห่งวัดคอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
3.ฉันทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช บุตรชายของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
4.ณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช บุตรชายของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
5.อาจารย์โชติ ธัมมวโร แห่งวัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
6.กลุ่มของวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรืออุ๊ กรุงสยาม
7.เกจิอาจารย์สายวัดเขาอ้อ จ.พัทลุง
ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่สร้างความสับสนให้กับผู้ที่ศรัทธาในองค์จตุคามรามเทพก็คือ ผลพวงของการที่ไม่ได้ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน ทำให้ขณะนี้เกิดพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาองค์จตุคามรามเทพมากมาย เช่น ต้องบูชาด้วยของดำ ต้องใช้ธูปสีดำ เป็นต้น


จตุคามรามเทพ รุ่นสองแผ่นดิน เหรียญราชาโชค เนื้อทองแดงชุบทอง

“ผมอยากให้ความเห็นว่า ผู้ที่อยากใช้ไม่จำเป็นต้องหาเช่ากันแพงๆ ขอให้เป็นรุ่นที่ทำพิธีดีๆ เท่านั้นก็พอ และอยากบอกว่า จตุคามฯ สามารถห้อยรวมกับพระอื่นได้ ไม่ผิด แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเป็นห้อย 2 องค์ จตุคามฯ ท่านไม่ได้มีเงื่อนไข ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านเมตตาทุกคนเหมือนกันหมด ใครที่พยายามพูดว่า ต้องบูชาอย่างนั้น บูชาอย่างนี้ มีเงื่อนไขอย่างนั้น ไม่จริง”

“หลักบูชามีอยู่ 2 หลักคือปฏิบัติบูชากับอามิสบูชา อามิสบูชาก็คือการบูชาด้วยเครื่องสักการะอะไรก็แล้วแต่ ตามฐานะ ตามจิตปรุงแต่ง แต่ไม่ใช่ว่าบูชาอย่างนี้แล้วจะสำเร็จ เพราะถ้าอย่างนั้นก็จะมีแต่คนรวยเท่านั้น ไม่ใช่ ส่วนปฏิบัติบูชาก็คือการทำความดีถวาย” อุ๊ กรุงสยามสรุป


ไปข้างบน