หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

สักการะพระพุทธบาท “เขาพระฉาย” อย่าลืมสังเกตร่องรอย “ธารลาวา”


รอยพระพุทธบาท ณ ยอดเขาวัดพระพุทธฉาย

วันมาฆบูชานี้ใครมีโอกาสทำบุญที่ “วัดพระพุทธฉาย”อย่าลืมสังเกตร่องรอยธารลาวาทางขึ้นยอดเขาวิหารพระพุทธบาทซึ่งบ่งบอกอดีตของการมีภูเขาไฟ งานนี้นอกจากจะได้หอบบุญกลับบ้านแล้ว ยังได้ความรู้ “ธรณีวิทยา” ติดหัวมาด้วย

ณ วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี นอกจากจะมีรอยพระพุทธบาทให้นักท่องเที่ยวได้สักการะแล้ว เขาพระฉายซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดยังมีร่องรอยทางธรณีวิทยาที่หาดูได้ยาก นั่นคือร่องรอยของธารลาวาที่บ่งชี้ว่าเคยมีภูเขาไฟสักแห่งใน จ.สระบุรี โดยหลักฐานดังกล่าวอยู่ระหว่างทางขึ้นสู่ยอดเขาบริเวณวิหารพระพุทธบาท (แต่ร่องรอยดังกล่าวอาจจะถูกปิดไปในไม่ช้าเนื่องจากทางวัดกำลังบูรณะและสร้างสิ่งก่อสร้างบริเวณทางขึ้นสู่วิหาร และมีการฉาบปูนทับรอยดังกล่าว)


ร่องรอยธารลาวาบริเวณทางขึ้นยอดเขาวัดพระพุทธฉาย

นางเบ็ญวรรณ ศรีเจริญ ผู้ชำนาญสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เผยว่าได้มาทำการสำรวจพื้นดังกล่าวร่วมกับ นายสิน สินสกุล นักธรณีวิทยาและที่ปรึกษา สสวท. พบว่าบริเวณเขาพระฉายนั้นเป็นลักษณะของเขาที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดลาวาและกลายเป็นหิน ซึ่งจากลักษณะภายนอกที่ภูเขาหินมีสีจางจึงจำแนกได้ว่าเป็นหินชนิดไรโอไรต์ (rhyolite)


นางเบ็ญจวรรณ ศรีเจริญ

ทั้งนี้หินที่เกิดจากหินหนืดหรือหินอัคนีภูเขาไฟ (Igneous rocks) แบ่งตามลักษณะองค์ประกอบแร่ธาตุได้ 3 ประเภทซึ่งสังเกตได้จากสีที่ปรากฏ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเย็นตัวของหินด้วย โดยหินที่เกิดจากลาวาซึ่งเป็นหินหนืดที่ไหลขึ้นมาบนผิวดินนั้น หากมีสีดำเรียกว่าหินบะซอลต์ (Basalt) หากเป็นมีสีเขียวเรียกว่าหินแอนดิไซต์ (Andesite) แต่ถ้าสีจางๆ ก็เป็นหินไรโอไรต์เช่นเดียวกับที่เจอบนเขาพระฉาย แต่ถ้าเป็นหินหนืดที่เย็นตัวอยู่ใต้ดินจะเรียกหินสีดำว่าหินแกบโบร (Gabbro) ส่วนสีเขียวเรียกว่าไดออไรต์ (Diorite) และสีจางๆ เรียกว่าหินแกรนิต (granite)

สำหรับความต่างของหินที่เย็นตัวบนผิวโลกกับใต้ดินคือลักษณะผลึก ซึ่งนางเบ็ญจวรรณอธิบายว่าหินที่เย็นตัวจากลาวานั้นจะมีผลึกเล็กและสังเกตด้วยตาเปล่าได้ยาก เนื่องจากเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหินที่เย็นตัวจากแมกมาซึ่งเป็นหินหนืดใต้ดินนั้นจะค่อยๆ เย็นตัวจึงมีผลึกโต เห็นได้ชัดและสวยงาม

“หินที่นี้มีลักษณะที่เป็นร่องรอยของภูเขาไฟ แต่ปากปล่องอยู่ที่ไหนไม่รู้ เพราะสึกกร่อนหมดแล้ว” นางเบ็ญจวรรณกล่าวและว่าแนวภูเขาไฟในเมืองไทยนั้นไล่จาก จ.เพชรบูรณ์ลงมาถึงสระบุรี นอกจากนี้ยังเห็นภูเขาไฟที่อื่นได้อีก เช่น เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี เป็นต้น โดยภูเขาไฟในเมืองไทยนั้นเป็นภูเขาไฟอายุน้อย เพียงแค่ 9 แสนปีเท่านั้น


สสวท.ให้ความรู้ด้านธรณีวิทยาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดพระพุทธฉาย

พร้อมกันนี้ เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ทาง สสวท.ได้จัดให้ความรู้แก่นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนพระพุทธฉาย จ.สระบุรี ที่อยู่ใกล้กับวัดพระพุทธฉายซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยทางโรงเรียนมีโครงการจัดอบรมแก่นักเรียนเพื่อเป็นยุวมัคคุเทศก์นำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งมักมาสักการะพระพุทธบาทโดยไม่มีผู้ให้ข้อมูลนำเที่ยว

ด.ช.อนุสิทธิ์ ปะกิริโย ยุวมัคคุเทศก์จากโรงเรียนพระพุทธฉายกล่าวว่า ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเขาพระฉายนั้นเป็นหินภูเขาไฟ และยังมีร่องรอยของธารลาวาให้เห็น ทั้งนี้นอกจากความรู้เกี่ยวกับประวัติของพระพุทธบาทแล้ว เด็กชายยังจะได้นำความรู้ทางธรณีวิทยาที่เพิ่งได้รับทราบจาก สสวท.ไปแนะนำแก่นักท่องเที่ยวด้วย

“วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการเกิดภูเขาไฟ ซึ่งไม่ทราบมาก่อนว่าหินที่นี่เกิดจากภูเขาไฟ” ด.ญ.ศรสุวรรณ เนตรสุวรรณ์ นักเรียนเพื่อนร่วมชั้นของ ด.ช.อนุสิทธิ์ กล่าว และเผยว่าตื่นเต้นที่ได้ทราบว่าเขาพระฉายนั้นเป็นหินภูเขาไฟ โดยเด็กหญิงมักจะมาวัดพระพุทธฉายในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อมาทำบุญ

สำหรับใครที่มองหาสถานที่ทำบุญในวันมาฆบูชาที่ 3 ก.พ.นี้ และคิดจะไปสักการะพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธฉายแล้ว นอกจากการทำจิตใจให้สงบแล้วลองระลึกอีกนิดว่าภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดนั้นเกิดจากภูเขาไฟ ซึ่งจะได้ทั้งความอิ่มบุญและความรู้กลับไป


ไปข้างบน