หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

"จันทร์สีอิฐ" คราสแรกแห่งปีในคืนเพ็ญมาฆะ


เสี้ยววินาทีที่คราสเต็มดวงเมื่อเวลา 05.44 น. เหนือท้องฟ้ากรุงเทพฯ (ภาพโดยสมาคมดาราศาสตร์)

ขณะที่คืนเดือนเพ็ญในวัน “มาฆบูชา” ได้ผ่านพ้นไป และการบดบังดวงจันทร์ของคราสในการเกิด “จันทรุปราคา” เริ่มขึ้นเมื่อก้าวย่างวันที่ 4 มี.ค.

การบันทึกภาพจันทรุปราคาได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 04.30 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เงามืดเข้าสัมผัสดวงจันทร์เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วน หากสังเกตจะเห็นว่าบนซีกซ้ายบนของดวงจันทร์เริ่มแหว่งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่สมาคมดาราศาสตร์ฯ เผยว่าจะบันทึกภาพจนกระทั่งแสงจากดวงอาทิตย์บดบังปรากฏการณ์จนไม่สามารถถ่ายได้


ลำดับขั้นการเกิดจันทรุปราคาจากบางส่วนจนถึงเต็มดวงเต็มดวงเมื่อเวลา 05.44 น. (ภาพเอพี)

ทั้งนี้นายปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช สมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ฯ และนักศึกษาวิศวกรรมอวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดรสเดน (Technische Universität Dresden) ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า คราสจะเต็มดวงในเวลา 05.44 น. ซึ่งจันทร์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ 8 องศา และมีเวลาบันทึกภาพปรากฏการณ์อีกประมาณครึ่งชั่วโมง

ขณะที่เวลา 06.21 น.ซึ่งเป็นเวลากึ่งกลางคราส (Mid Eclipse) คือ จันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดนั้น จันทร์อยู่จากขอบฟ้าเพียง 3 องศา ทำให้ในส่วนของประเทศไทยไม่สามารถบันทึกภาพได้ แต่หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะเห็นคราสเต็มดวงในช่วงเวลาสั้นๆ ถึงเวลา 05.50 น.เท่านั้น และบันทึกภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้ถึงเวลา 06.10 น.

พร้อมกันนี้นายปณัฐพงศ์ยังอธิบายว่าภาพปรากฏของจันทรุปราคาเต็มดวงไม่ได้เห็นเป็นสีดำสนิทหากแต่จะเห็นเป็นสีส้มแดง ทั้งนี้เพราะเกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านบรรยากาศโลกซึ่งประกอบไปด้วยฝุ่นผงจำนวนมาก จึงทำให้เงาของโลกไม่มืดสนิท และหากโลกไม่มีชั้นบรรยากาศเมื่อเกิดคราสเต็มดวงจะทำให้ภาพปรากฏของดวงจันทร์หายไปจากท้องฟ้า


จันทรุปราคาเต็มดวงเวลา 05.59 น. ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากความสว่างของแสงพื้นหลังจากโลกสว่างกว่าแสงสะท้อนจากดวงจันทร์ รวมทั้งการบดบังของหมอกและควันหรือสม็อก (Smog) (ภาพโดยสมาคมดาราศาสตร์)

สีของดวงจันทร์ที่ปรากฏขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงก็บ่งบอกถึงสภาพมลภาวะในอากาศได้ระดับหนึ่ง ซึ่งนายปณัฐพงศ์ได้อธิบายว่าหากบรรยากาศเต็มไปด้วยฝุ่นจะทำให้ชั้นบรรยากาศหนาทึบส่งผลให้สีของดวงจันทร์ระหว่างเกิดคราสเต็มดวงมีสีคล้ำลงคล้ายสีแดงอิฐ และยิ่งมีมลภาวะมากยิ่งขึ้นทำให้แสงดวงอาทิตย์หักเหผ่านชั้นบรรยากาศได้น้อยลงจนในที่สุดดวงจันทร์จะเลือนหายไปจากท้องฟ้าระหว่างเกิดคราสเต็มดวง แต่กรณีหลังสุดยังไม่เคยเกิดขึ้น

"เมื่อ 124 ปีที่แล้วเกิดการระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัว ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้บรรยากาศของโลกหนาทึบเพิ่มมากขึ้นเป็นเวลาหลายปี มีฝุ่นเต็มชั้นบรรยากาศ ภายหลังการระเบิดครั้งนั้นได้มีการสังเกตสีดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ซึ่งฝรั่งได้บันทึกว่าเป็น "บลูมูน" (blue Moon)" น.ส.ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ฯ ช่วยยกตัวอย่างมลภาวะที่มีผลต่อสีของดวงจันทร์หลังเกิดคราสเต็มดวง

ด้านนายอมรศรีจิรทร กรรมการสมาคมดาราศาสตร์ฯ อธิบายเหตุผลที่ไม่สามารถสังเกตจันทรุปราคาด้วยตาเปล่าในเวลาประมาณ 05.50 น.ได้ ทั้งที่ควรจะเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มแดง เนื่องจากความสว่างพื้นหลังของท้องฟ้ามีความสว่างมากกว่าความสว่างของดวงจันทร์ที่มีเพียงแสงโลกเท่านั้นที่ส่องไปถึง (Earth's shine)


จันทรุปราคาบางส่วนเวลา 05.11 น. (ภาพโดยสมาคมดาราศาสตร์)

จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็น จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่สังเกตเห็นได้จากประเทศไทย และเป็นอุปราคาครั้งแรกใน 4 ครั้งที่เกิดในปีนี้ ซึ่งครั้งถัดไปคือเช้าวันจันทร์ที่ 19 มี.ค.จะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนเห็นได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เวลาที่เกิดแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เห็นตั้งแต่เวลา 07.47 - 08.57 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 08.21 น.

ครั้งถัดไปคือจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงหัวค่ำของวันอังคารที่ 28 ส.ค. แต่ประเทศไทยจะสังเกตเห็นในช่วงท้ายของปรากฏการณ์ ส่วนครั้งสุดท้ายของปีคือวันที่ 11 ก.ย.จะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนท้องฟ้าเหนือประเทศไทยไม่สามารถสังเกตเห็นได้


ไปข้างบน