หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

แฉ "จตุรามฯ" วัดแค่หมื่น-นายทุน 7 ล้าน


แก้ปัญหาวัตถุมงคล "จตุคามรามเทพ " แฉวัดถูกนายทุนโกง ส่วนใหญ่ไม่ยอมเปิดเผยยอดรายได้ ได้ แต่ถวายไม่ถึงร้อยละ 20 เคยมีต่ำสุดเข้าวัด 50,000 นายทุนได้ไป 7-8 ล้านบาท แฉปมแข่งขันถึงขั้นจ้างเงินหลักล้านวางยา รง. เพื่อให้ของที่ผลิตมาไม่ได้มาตรฐาน

เมื่อเวลา14.00 น. วันที่ 12 มี.ค. 20 นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เป็นประธานเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมเพื่อหาทางออกในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัตถุมงคล “จตุคามรามเทพ” ซึ่งมีทั้งการจัดสร้างในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจัดหาประโยชน์ใส่ตัว โดยมีตัวแทนจากกองบังคับการตำรวจภูธรนครศรีธรรมราช สำนักพระพุทธศาสนา สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานจังหวัด เข้าร่วมหารือ

นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม รองผู้ว่าราชการจังหวัด เปิดเผยว่า ทางจังหวัดไม่ได้นิ่งเฉยในการแก้ไขปัญหา ซึ่งพยายามที่จะหาทางออกโดยนำเอาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะได้นำข้อสรุปเข้าหารือกับพระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช ฝ่ายธรรมยุต ยอมรับว่าในเรื่องวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ ขณะนี้ไม่เฉพาะความศรัทธาของชาวไทยเท่านั้น ยังมีความศรัทธาไปถึงต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นการส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมาก การผลิตจึงมีมากขึ้น การปลอมออกมาก็มีมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้เห็นว่าแนวทางที่จะดำเนินการได้นั้น คงออกมาใน 2 ลักษณะคือ 1 มีบทลงโทษตามกฎหมาย และ 2. มาตรการทางสังคมที่คอยตรวจสอบสอดส่องติดตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดสร้างว่าเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริงก็ต้องประกาศให้สังคมรับรู้

พ.ต.อ.หญิง อรวรรณ ปานแก้ว ผกก.อก.ภ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าในส่วนของตำรวจนั้นได้มีการวิเคราะห์ กรณีการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ ที่จะดำเนินการได้ทางกฏหมาย โดยแบ่งออกเป็นกรณีอาจจะเข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 และ 343 ฐานหลอกลวงฉ้อโกง

"กรณีที่ไม่มีความผิดเช่นนายทุนจัดสร้าง หรือราชการ ทำตามขั้นตอนที่ได้แจ้งไว้ทุกขั้นตอนจะถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายโดยสมบูรณ์ ตามความพอใจของทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าเข้าข่ายฉ้อโกงคือการอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ เวทมนต์ไสยศาสตร์ หรือแม้แต่ทำเมื่อพิธีเสร็จสิ้นไปแล้วถือว่าหลอกลวง โดยการกระทำเข้าข่ายฉ้อโกงเช่นกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การอายัดทรัพย์สินได้คล้ายกับกรณีของเณรแอ ที่มีการยึดทรัพย์ไป 17 ล้านบาท"

นายสนธยา เสนเอี่ยม ผู้อำนวยการ สำนักพระพุทธศาสนานครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าภาพรวมนั้นหาข้อกฎหมายเฉพาะมาดูแลได้ยากมาก ด้านมหาเถรสมาคมได้สร้างบริบทไว้เพียงคณะสงฆ์ วัด กฎระเบียบที่มีให้พระสงฆ์อยู่ในสมณรูป

แต่ในกรณีที่วัดจัดสร้างนั้นจะต้องมีขั้นตอนในการแจ้งต่อผู้ปกครองสงฆ์ โดยเชื่อว่าจะไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย แต่ก็ไม่มีผลในข้อบังคับ สงฆ์เองไม่ได้เคร่งครัดไม่ได้มีการขออนุญาตเป็นส่วนมาก ซึ่งตรงนี้สงฆ์จะต้องแก้ปัญหาโดยสงฆ์ สำนักพุทธไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เนื่องจากมีหน้าที่เพียงสนองงานเท่านั้น

"ลักษณะของการจัดสร้างจตุคามฯในปัจจุบันมีผู้อุปถัมภ์ในการจัดสร้างประมาณ 75 เปอร์เซ็น วัดไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะลงทุน ต้องอาศัยบุคคลคณะบุคคล ธุรกิจองค์กรต่างๆ มีข้อตกลงกันว่าวัดได้เท่าไหร่ หรือวัดได้ตามสมควร มีข้อตกลงกันเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ขณะนี้มีเรื่องคาราคาซังอยู่หลายวัด สงฆ์เองก็ไปเรียกร้องไม่ได้ เสียสมณรูป

ภาพรวมของรายได้ในแต่ละรุ่น 100 เปอร์เซ็น วัดได้ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็น และส่วนใหญ่ก็ไม่เปิดเผยยอดรายได้เสียด้วย ที่วัดได้ต่ำสุดแค่ 50,000 ก็มี ขณะที่นายทุนได้ 7-8 ล้านบาท มีการพูดคุยกันในที่ประชุมสงฆ์ ก็มีเสียงออกมาอย่างเดียวคือสมควรแล้วที่ถูกหลอก" นายสนธยา ระบุ

นายสมพร จิระโร พาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า การจัดสร้างในแต่ละรุ่นนั้นถือว่าเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์เป็นเฉพาะราย โดยเฉพาะการออกแบบต่างๆ ในรูปรอยของท้าวจตุคามรามเทพ ซึ่งสามารถเอารูปมาใช้ได้ ขณะนี้เกือบ 200 รุ่น ถ้าผู้สร้างกล่าวอ้างได้ว่า เป็นรุ่นที่ทำขึ้นถือว่าเป็นงานลิขสิทธิ์ทันที และหากพิสูจน์ได้ว่างานที่ทำซ้ำขึ้นมาและนำไปใช้ประโยชน์ และพิสูจน์ได้ว่าไปทำซ้ำหรือปลอมมาจะไปเข้า พรบ.ลิขสิทธิ์ แต่ต้องนำสืบได้ บางรุ่นบางแบบนั้นมีความชัดเจนมากในการทำปลอมขึ้น ซึ่งขณะนี้มีการจดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว 1 รายคือของ พล.ต.อ.สรรเพชญ์ ธรรมาธิกุล จดแจ้งกับพาณิชย์จังหวัดและมีการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดไปแล้ว

นายวิโรจน์ พรรณราย ปลัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ได้นำเอาข้อมูลการขอใช้ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ในการทำพิธีพุทธาภิเษกและเทวาภิเษกมาแสดงต่อที่ประชุมพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 จนถึงเดือนสิงหาคม 2550 มีการยืนขอใช้สถานที่แล้ว 51 รายและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ในฐานะผู้ดูแลนั้นได้ประกาศขึ้นค่าธรรมเนียมบูรณะศาลหลักเมืองจากเดิม 20,000 บาท เป็น 50,000 บาท โดยได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ส่วนที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนั้นมีการขอใช้เกือบ 200 รุ่นในห้วงเวลาเดียวกัน

ส่วนบรรยากาศของการปลุกเสกนั้นยังคงมีอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวันโดยเฉพาะที่ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช และมีรายงานถึงความขัดแย้งในการสร้างระหว่างรุ่นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดนั้นพบประเด็นปัญหาในการ "วางยา" กับวัตถุมงคลจตุคามรามเทพรุ่นหนึ่งที่มีการจัดสร้างไปไม่นาน โดยมีการตรวจสอบภายในพบว่า ได้มีการพิมพ์ดวงตราจตุคามรามเทพเนื้อว่านขาว และเมื่อเนื้อแห้งผ่านการทำพิธีมาครบ และได้นำบรรจุกล่องพลาสติกกลับแตกหักง่าย โดยพบว่าช่างพิมพ์ได้ผสมมวลสารเพื่อประสานเนื้อไม่ครบ โดยที่มีการจัดสร้างในแบบเดียวกันนี้ในอีกรุ่นหนึ่งอย่างดี โดยมีวงเงินในการจ้าง "วางยา"สูงถึงราว 1 ล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการผู้จัดสร้างเพิ่งพบปัญหาเมื่อผ่านพิธีครบหมดแล้ว และอยู่ในระหว่างการหาทางออก


ไปข้างบน