หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์มั่น วิถี แห่ง เทศนาวิธี


พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ต้องยอมรับว่า บทความขนาดยาวเรื่อง "ชีวประวัติ ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ" พระอริยคุณาธารา (เส็ง ปุสโส) แห่งเขาสวนกวาง ขอนแก่น

เป็นบทความชิ้นแรกที่สุดที่นำเสนอประวัติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ก่อนสำนวนการเขียนของ พระญาณวิริยาจารย์ ก่อนสำนวนการเขียนของ พระมหาบัวญาณสัมปันโน และก่อนการเรียบเรียงของ พระทองคำ จารุวัณโณ

ถือเป็นสำนวนแบบฉบับสำหรับการเขียนถึง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ส่วนหนึ่ง อาจมาจากประสบการณ์ตรงของ พระอริยคุณาราม ในห้วงที่ปฏิบัติใกล้ชิดอยู่กับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากความไว้วางใจดังที่พระธรรมเจดีย ได้ระบุไว้ในคำนำของหนังสือซึ่งพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ณ วัดป่าสุธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2493

นั่นก็คือ

"ที่ประชุมได้ตกลงให้มอบภาระในการนี้แก่ พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เสง) ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งเป็นผู้จัดทำ เธอเต็มใจรับภาระและจัดทำสำเร็จเรียบร้อยเป็นเล่มสมุดทันแจกในงานฌาปนกิจสมประสงค์"

เป็นมติจากที่ประชุมของคณะศิษยานุศิษย์อันมี พระธรรมเจดีย์ เป็นประธาน

ในหนังสือนั้นได้กล่าวไว้ในหัวข้อสำคัญ "สำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์" เอาไว้อย่างควรแก่การพิจารณาศึกษาอย่างเป็นพิเศษ

ดังนี้

ตามประวัติเบื้องต้นได้เล่าสุบินนิมิตของท่านและการพิจารณาสุบินนิมิตของท่าน ได้ความว่า

ท่านจะสำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์ ฉลาดรู้ในเทศนาวิธีและอุบายทรมาน แนะนำสั่งสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจในพระธรรมวินัยและอุบายฝึกฝนจิตใจ แต่จะไม่ได้จตุปฏิบัติสัมภิทาญาณดังนี้


พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

คุณสมบัติส่วนนี้ย่อมประจักษ์ชัดแก่ศิษย์ทั้งหลายสมจริงอย่างที่ท่านพยากรณ์ไว้ คือ ท่านฉลาดในเทศนาวิธี ท่านเคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านได้พยายามศึกษาสำเนียงวิธีเทศนาอันจะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟัง ได้ความขึ้นว่า เทศนาวิธีต้องประกอบด้วย

(1) อุเทศ คือ กำหนดอุเทศก่อนหัวข้อธรรมที่พึงยกขึ้นแสดง วิธีกำหนดอุเทศนั้น คือทำความสงบใจหน่อยหนึ่ง ธรรมใดอันเหมาะแก่จริตนิสัยของผู้ฟังซึ่งมาคอยฟังในขณะนั้น ธรรมนั้นจะผุดขึ้น ต้องเอาธรรมนั้นมาเป็นอุเทศ ถ้าเป็นภาษาไทยต้องแปลเป็นบาลีก่อน

(2) นิเทศ คือ เนื้อความ เพื่ออธิบายความของอุเทศนั้นให้กว้างขวางออกไปตามสมควร เมื่อเนื้อความปรากฏขึ้นในขณะนั้นแจ่มแจ้งแก่ใจอย่างไรต้องแสดงอย่างนั้น

(3) ปฏินิเทศ คือ ในความเพื่อย่อคำให้ผู้ฟังจำได้ จะได้นำไปไตร่ตรองในภายหลังเทศนาวิธีของท่านอาจารย์ย่อมเป็นไปตามหลักดังกล่าวนี้

บาลีอุเทศที่นายกขึ้นมาแสดงบางประการท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน ย่อมมาปรากฏขึ้นในเวลาแสดงธรรมนั้นเอง จึงสมกับคำว่า ปฏิสัมภิทานุสาสน์ แท้

เป็นการแสดงธรรมด้วยปฏิภาณญาณจริงๆ จึงถูกกับจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง ยังผู้ฟังให้เกิดความสว่างแจ่มใส เบิกบานใจ และเกิดฉันทะในอันประพฤติปฏิบัติศีลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป

สมด้วยคำชมของเจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทเถระ จันทร์) ว่า ท่านมั่นแสดงธรรมด้วยมุตโตทัย เป็นมุตโตทัย ดังนี้

ซึ่งข้าพเจ้าเอามาเป็นชื่อธรรมกถาของท่านอาจารย์ที่พิมพ์นี้

ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นการเขียนในลักษณะสรุปและประเมินผลจากการปฏิบัติอย่างยาวนานตราบชั่วชีวิตของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เป็นการประเมินจาก 2 ส่วนประสานเข้าด้วยกัน

ประการ 1 ประเมินจากบทสรุปของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เองโดยผ่านการวิเคราะห์และสรุปจากสุบินนิมิต

ประการ 1 ประเมินจากความเป็นจริงที่เห็นด้วยตาของตนเอง

การเห็นด้วยตาของตนเองนี้มิได้เป็นเพียง 2 ตาของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) เท่านั้น หากแต่มาจากหลายๆ ส่วน หลายๆ คน

เพราะ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) มิได้เขียนจากจินตนาการ

ตรงกันข้าม ท่านเขียนจากความเป็นจริง ท่านเขียนจากการคั้น กลั่นกรอง จากการตรวจสอบและได้ผ่านการรับรองมาแล้ว


ไปข้างบน