หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

“วัตถุมงคลต้องนำคนเข้าสู่ธรรม”

เท่าที่ทราบแนวคิดเรื่องการบูชาวัตถุมงคลในทัศนะของพระพุทธศาสนาดูเหมือนจะไม่มีอยู่ แม้ต่อมาคติการสร้างวัตถุมงคลจะแพร่เข้าไปทั่วภูมิภาคอุษาคเนย์ จนกระทั่งมารุ่งเรืองที่สุดอยู่ในประเทศไทยของเราทุกวันนี้ แนวคิดอย่างนี้ถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาที่สุดก็ต้องถือว่าไม่ใช่แนวคิดของพระพุทธศาสนา เพราะตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าใช้ชีวิตอยู่นั้น ทรงพยายามอย่างมากที่จะให้มนุษย์หันมานับถือตัวเอง คำว่านับถือตัวเองไม่ใช่แนวคิดมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งเติบโตขึ้นในตะวันตก แต่การนับถือตัวเองเป็นแนวคิดของพระพุทธศาสนาแท้ๆ มีศัพท์เทคนิคว่า ตถาคตโพธิศรัทธา คือการมีความเชื่อมั่นในสติปัญญาของมนุษย์ว่าเราสามารถพัฒนาตัวเองจนถึงขั้นสูงสุดของวิวัฒนาการทางสติปัญญา คือเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ และเราสามารถพึ่งตนเองได้ เป็นที่มาของพุทธพจน์ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ-ตนแลเป็นที่พึ่งของตน

อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่า มนุษย์เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า ศักยภาพทางสติปัญญาก็แตกต่างกันออกไป บัวแต่ละเหล่าก็แสวงหาที่พึ่งที่สอดคล้องกับระดับสติปัญญาของตัวเอง จึงเป็นเหตุให้เกิดลัทธิบูชาวัตถุมงคลแพร่หลายในสังคมไทย กล่าวอย่างสั้นที่สุด หากจะมีสิ่งที่เป็นมงคลในทัศนะของพระพุทธศาสนาก็มีเพียงธรรมะมงคล ไม่มีวัตถุมงคล

จตุคามฯ รุ่น 9 หน้า มหาโชค มหาเศรษฐี วัดคงคาวง (อ้ายเขียว) เนื้อเงินหน้ากากทองคำ

วัตถุมงคลจึงเป็นสิ่งแปลกปลอมในทัศนะของพระพุทธศาสนา เมื่อเป็นสิ่งแปลกปลอมก็ต้องถือว่าไม่มีเกณฑ์วัดความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลในนามของพระพุทธศาสนา ดังนั้น มาตรฐานในการวัดความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคล หากจะมีอยู่ มาตรฐานนั้นก็ไม่ใช่ของพุทธศาสนา แต่เป็นมาตรฐานของครูบาอาจารย์ที่ว่ากันเอาเอง เป็นเพียงความพยายามเชื่อมโยงให้สิ่งที่ตนเคารพนับถือมีมิติทางพุทธศาสนาเท่านั้นเอง พูดง่ายๆ ว่าเป็นการยืมแบรนด์ของพระพุทธเจ้ามาสนองกิเลสของตัวเองเพื่อที่จะสื่อสารกับคนไทยได้ง่ายขึ้น

แต่ถามว่าพุทธศาสนาปฏิเสธเรื่องการบูชาวัตถุมงคลเสียทีเดียวหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ได้ปฏิเสธเสียทีเดียวนะ แต่ไม่ให้ความสำคัญจนถึงขั้นยกขึ้นมาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจของเรา และถึงแม้จะมีคำแนะนำให้รู้จักบูชาวัตถุมงคลอยู่บ้าง เอาเข้าจริงแล้ววัตถุมงคลเหล่านั้นก็เป็นเพียงสะพานผ่านไปสู่ธรรมะมงคลอีกทีหนึ่ง พุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความเป็นจริงของมนุษย์ว่ามนุษย์มีความแตกต่างทางสติปัญญาอยู่ คนบางกลุ่มจึงอาจต้องใช้วัตถุมงคลเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าสู่ธรรม แต่ไม่ได้เอามาเป็นจุดเด่นจุดเน้น

ถ้าหากเราจะนับถือวัตถุมงคล พระพุทธเจ้าบอกว่ามีสิ่งที่ควรนับถืออยู่ ทรงพูดไว้ในเจดีย์ 4 ประการ คำว่าเจดีย์หมายถึงสิ่งที่ถูกบรรจุเอาไว้ในสิ่งปลูกสร้างชนิดต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดีที่นำคนเข้าสู่ธรรม หนึ่ง-ธาตุเจดีย์ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สอง-บริโภคเจดีย์ เจดีย์หรือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย สาม-ธรรมะเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระธรรม สี่-อุเทสิกะเจดีย์ เจดีย์ที่สร้างอุทิศให้แก่พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูปทั้งหลายทั้งปวง ฉะนั้น เราจะเห็นว่าแนวคิดเรื่องวัตถุมงคลในพุทธศาสนาก็มาจากแนวคิดนี้

แนวคิดเจดีย์ทั้ง 4 สะท้อนว่าพระพุทธเจ้าก็แนะนำให้บูชาสิ่งที่เป็นวัตถุมงคลเหมือนกัน แต่ไม่ให้จบที่ตัวสิ่งเหล่านั้น แต่ให้สิ่งเหล่านั้นเป็นสะพานเชื่อมคนเข้าไปสู่ธรรมอีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะอนุญาตให้มีเจดีย์ 4 ประการ แต่จุดเด่นของพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นเรื่องของธรรมะ เจดีย์ทั้ง 4 เป็นแค่มรรควิธีในการดึงคนเข้าสู่ธรรม ไม่ใช่เป้าหมายในตัวเอง ทุกครั้งที่เรากราบไหว้สิ่งปลูกสร้างทางศาสนาขอให้เรานึกถึงอยู่เสมอว่า เราไม่ได้กราบไหว้ตัวพระอิฐพระปูนแล้วคิดว่าชีวิตจะดีขึ้น แต่เรากราบไหว้สิ่งเหล่านั้นเพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเป็นสะพานเชื่อมคนเข้าสู่ธรรม ถ้าเรารำลึกเช่นนี้ไว้เสมอ การนับถือวัตถุมงคลของชาวพุทธก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

การยอมรับนับถือวัตถุมงคลเป็นสิ่งที่พุทธศาสนาเห็นด้วยก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นนำคนเข้าสู่ธรรม แต่ถ้าสิ่งนั้นนำคนเข้าสู่ความงมงาย ยั่วคนให้โลภไม่จบไม่สิ้น วัตถุมงคลเหล่านี้ถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่พุทธศาสนาไม่เห็นด้วย

ที่มา จากหนังสือพิมพ์ "ผู้จัดการออนไลน์" โดย ว. วชิรเมธี




ไปข้างบน