หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

เที่ยววัดพลับพลาทอง คินคะคุจิ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น



ทางเดินเข้าวัดคินคะคุจิ






วัดคินคะคุจิ

วัดคินคะคุจิ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกียวโต นั่งรถบัสไปจอดที่ป้าย Kinkakuji-michi เดินไม่ไกลก็ถึงทางเข้าวัด วัดนี้ทางเดินไม่ค่อยได้เดินขึ้นเนินเท่าไหร่ เดินสบายๆ

วัดคินคะคุจิ (Kinkakuji) หรือ วัดพลับพลาทอง วัดศาลาทอง วัดทองแล้วแต่จะเรียก เป็นวัดที่ดังเป็นที่รู้จักที่สุดวัดหนึ่งในญี่ปุ่น ว่ากันว่าถ้ามาเที่ยวเกียวโตแล้วไม่มาวัดนี้ เขาถือว่ายังมาไม่ถึงเกียวโต สร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.1940 ศาลาสีทองที่เห็นในปัจจุบันเพิ่งได้รับการแปะผนังด้วยทองไปเมื่อปี พ.ศ.2530 ที่ผ่านมา จึงมองดูเหลืองอร่ามสะท้อนในสระน้ำหน้าพลับพลาสวยงามเจิดจรัสยิ่งนัก

วัดคินคะคุจิ

เรื่องราวในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “อิคคิวซัง” เณรน้อยเจ้าปัญญา ก็จำลองเรื่องราวเหตุการณ์ของศาลาทองในวัดนี้แหละ ท่านโชกุนที่เรื่องนั้นก็คือ โชกุนอาชิกางะ โยชิมิสึ (Ashikaga Yoshimitsu) และบุตรชายของเขาที่เป็นเจ้าของพลับพลาหลังนี้ ก่อนที่จะยกให้เป็นสมบัติของวัดโรกุนอนจิ (Rokuonji : อีกชื่อหนึ่งของวัดแห่งนี้) ในเวลาต่อมา

พลับพลาทองหลังนี้เคยถูกลอบวางเพลิงเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยพระภิกษุที่บวชอยู่ในวัดนั่นแหละ พระรูปนี้เข้ามาบวชในวัดนี้เพราะหลงใหลในความวิจิตรสวยงามของวิหารและคิดว่าการที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของความงามให้ได้นั้น จะต้องเผาทำลายวัตถุแห่งความงามนั้นไปด้วย จึงได้มีการสร้างศาลาขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2498



วัดคินคะคุจิในช่วงฤดูหนาว

ศาลามีทั้งหมด 3 ชั้น แต่ละชั้นใช้ศิลปะการก่อสร้างและตกแต่งแตกต่างกัน นั่นคือ ชั้นที่ 3 บนสุด (Shinden Zukuri) สร้างตามแบบพระราชวัง เป็นที่อยู่ของท่านโชกุน ชั้นที่ 2 (Buke Zukuri) สร้างตามแบบบ้านซามูไร เป็นที่พักของซามูไรผู้อารักขาโชกุน และชั้นล่าง สร้างตามแบบวัดพุทธในนิกายเซน มีบึงน้ำอยู่รอบตัวศาลา เรียกว่าสระเรียวโกะ แปลว่าสระสะท้อน ทำให้ตัวศาลาดูสวยงามโดดเด่น เมื่อมองจากสวนหน้าสระน้ำ

ก่อนออกมาอย่าลืมเขียนขอพรบนแผ่นไม้รูป “อิคคิว” และซื้อเครื่องราง “อิคคิวซัง” ที่ร้านขายของที่ระลึกของทางวัด ที่เชื่อว่าจะทำให้สติปัญญาหลักแหลมเหมือนอิกคิว เณรน้อยเจ้าปัญญา “คร๊าบผม” ถนนหน้าทางเข้าวัดคินคะคุจิจะไม่ค่อยมีร้านขายของที่ระลึกเหมือนกับวัดอื่นๆ ที่ผ่านมา อย่าคิดที่จะมาซื้อที่นี่ เท่าที่ดูหน้าทางเข้าวัดคิโยมิสึนั้นมีร้านค้าเยอะสุดแล้วครับ

สวนญี่ปุ่นในวัดคินคะคุจิ



วัดคินคะคุจิตั้งอยู่ท่ามกลางสระน้ำ

อิคคิวซัง เป็นแค่ตัวการ์ตูนหรือตำนานที่มีอยู่จริง ?

อิคคิวซัง เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งที่เข้ามาฉายในไทย แต่จะมีใครรู้บ้างว่าที่ญี่ปุ่น พระอิคคิว มีอยู่จริง รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ที่ยืนยันว่า "อิคคิวซัง" ไม่ใช่แค่การ์ตูนแต่กลับเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเลยทีเดียว

เมื่อ 600 ปีที่ผ่านมาเป็นยุค Muromachi (ประมาณ พ.ศ.1338-1573) ช่วงที่ญี่ปุ่น ยังยึดติดเรื่องศักดินา อิคคิวซัง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเณรน้อยหลังจากโชกุน Yoshimitsu Ashikaga ต้องการจะรวมประเทศญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 15 มีพระในนิกายเซนถือกำเนิดขึ้นที่ใคร ๆ รู้จักในนาม “Ikkyu San (อิคคิว ซัง)” ผู้ฉลาดหลักแหลม เขาเกิดในปี 1394 และตายในปี 1481 ด้วยวัย 87 ปี พ่อของเขาคือจักรพรรดิ์ Gokomatsu ซึ่งมีชายาสองฝ่ายคือ Nantyo (ชายาฝ่ายใต้) และ Hokutyo (ชายาฝ่ายเหนือ) แม่ของอิคคิวคือ Nantyo ภรรยาลับ ๆ ของจักรพรรดิ์ Gokomatsu พระองค์เกรงอำนาจของชายาฝ่ายเหนือ Hokutyo แม่ของอิคคิวจึงต้องออกจากราชวังตั้งแต่ Ikkyu ยังไม่เกิด พระจักรพรรดิ์ส่งเจ้าชายและชายา ฝ่ายใต้ (แม่ของอิคคิว) มาจากพระราชวัง โชกุน Ahikaga จึงเปลี่ยนชื่อให้เจ้าชายน้อยว่า Ikkyu การ์ตูนเรื่องนี้พยายามจะนำเสนอ การใช้ชีวิตของ อิคคิว ในวัดและต้องคอยต่อสู้กับลูกสาวพ่อค้า Yayoi ที่คอยเอาเปรียบวัด รวมถึงเรื่องศาสนา มีทั้งมุขตลกสำหรับเด็ก ๆ และเรื่องรวมความซาบซึ้งต่าง ๆ ไว้ครบ

วัดคินคะคุจิมองจากระยะใกล้

เมื่ออิคคิวเกิดและอายุได้ 6 ปี อิคคิวได้บวชเรียนในวัดนิกายเซ็นในเกียวโตชื่อวัด "Ankokuji (อังโคะคุจิ)" อิคคิวฝึกตนค่อนข้างจะเข้มงวด จากหลวงพ่อของวัดอังโคะคุจิถึง 10 ปี รอบ ๆ ตัวของอิคคิวมีแต่ขุนนางชั้นสูงในสมัยนั้น ต่างก็เสแสร้ง และหลอกลวง ไม่จริงใจกับอิคคิว เมื่ออิคคิวอายุได้ 16 ปี เขาเริ่มทนไม่ได้กับความเสแสร้างไม่จริงใจของพวกขุนนาง อิคคิวได้ออกจากวัดอังโคะคุจิ หลังจากนั้นชีวิตของอิคคิวก็พบกับความทุกข์ยากแสนสาหัส อิคคิวได้เป็นนักเรียนของ Kenou Osyou ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงทางด้านศาสนาของนิกายเซนจนกระทั่งอิคคิวเสียชีวิตเมื่อมีอายุได้ 87 ปี ในปี 1481

ชีวิตของอิคคิวนั้นได้ทำให้ทุกคนเห็นว่าเขามีฐานะเป็นถึง เจ้าชาย ในจักรพรรดิ์ แต่ว่าอิคคิว ไม่เคยสนใจยศศักดิ์ ตำแหน่ง ความร่ำรวม เกียรติยศเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการเริ่มต้นของความสกปรก ความโลภ จิตใจของอิคคิวบริสุทธิ์และไม่สนใจกับเกียรติยศใด ๆ

นี่คือการ์ตูนที่สร้างมานานแล้วในญี่ปุ่น จะเรียกว่าเป็นการ์ตูน อมตะของญี่ปุ่น ก็ว่าได้ แม้แต่ในไทยเองก็เอามาออกอากาศทางทีวีหลายต่อหลายครั้งแต่การ์ตูนเรื่องนี้ได้แฝงคติ ความรู้ มากมายทั้งเรื่องความฉลาดของอิคคิว การแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยสมาธิ และความกตัญญูของอิคคิวที่มีต่อแม่ของเขา

อิคคิวซัง เป็นเณรน้อยเจ้าปัญญา มีจิตใจดีงาม ชอบใช้ความคิดช่วยเหลือคน มีความกตัญญูและรักแม่มาก



โชกุน อะชิคะงะ ผู้มีตำแหน่งใหญ่หากเทียบกับปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนผู้ว่าฯ เวลาเหงาชอบเรียกอิคคิวซัง มาเพื่อตอบปัญหาต่าง ๆ บางครั้งมีนิสัยเป็นเด็ก


การเดินทางไปวัดคินคะคุจิ
นั่งรถบัสสาย 12, 59 ลงที่ป้าย Kinkakuji-mae
นั่งรถบัสสาย 101, 102, 204, 205 ลงที่ป้าย Kinkakuji-michi เดินต่ออีก 5 นาที

ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 400 เยน เด็ก 300 เยน

เวลาเปิดให้เข้าชม ทุกวัน 09.00 – 17.00 น.



ไปข้างบน