หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมา
เชิญชม การ์ตูนแอนนิเมชั่น  เสี้ยวลิ้มยี่  (The Legend of Shaolin Kung Fu)
เชิญชม VDO น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
เชิญชม ประวัติศาสตร์การเมือง ตอน ปิดตำนานทักษิณ
เจ้าแม่กวนอิม
ชมตัวอย่างภาพยนตร์,หนัง
ฐานิยปูชา ๒๕๕๑

สุขใจ ไหว้หลวงพ่อโต(อมยิ้ม) ที่ “วัดกัลยาณมิตร”

หลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร หากสังเกตดีๆ จะพบว่าพระพักตร์ของท่านอมยิ้มเล็กน้อย

หากกล่าวถึง “หลวงพ่อโต” หรือ “ซำปอกง” ฉันเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี แม้ว่าซำปอกงองค์ใหญ่ที่เด่นๆจะมีเพียง 3 วัดในประเทศไทย ก็คือ วัดพนัญเชิง อยุธยา, วัดอุภัยภาติการาม ฉะเชิงเทรา และแห่งสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร ที่วัดกัลยาณมิตร นั่นเอง

จากฝั่งพระนครข้ามสะพานพุทธฯไปสู่ฝั่งธนไม่ไกลเป็นที่ตั้งของ “วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร” หรือที่นิยมเรียกสั้นๆกันว่า “วัดกัลยาณมิตร” หรือ “วัดกัลยาณ์” เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ที่วัดกัลยาณมิตร ฉันได้พบกับ หลวงตาเล็ก ซึ่งได้เล่าเรื่องราวของวัดนี้ให้ฟังว่า

หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก

“แต่เดิม เจ้าพระยานิกรบดินทร์ เดิมชื่อ โต แซ่อึ่ง ต้นสกุลกัลยาณมิตร เคยทำมาค้าขายกับรัชกาลที่ 3 อย่างซื่อสัตย์มานานจนสนิทเป็นมิตรกัน ในเวลาต่อมา เจ้าพระยานิกรบดินทร์จึงได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียงสร้างวัดขึ้นมา แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2368 และถวายเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2370 และเนื่องจากเจ้าพระยานิกรบดินทร์ กับรัชกาลที่ 3 มีความสัมพันธ์เป็นมิตรที่ดีต่อกัน รัชกาลที่ 3 จึงได้ทรงพระราชทานนามให้วัดแห่งนี้ว่า “วัดกัลยาณมิตร” ตั้งแต่นั้นมา”

ผู้คนที่มาวัดกัลยาณมิตร นิยมแวะมาตีระฆังใบยักษ์


หลังจากนั้นฉันจึงตามหลวงตาเล็กสู่ภายในพระวิหารหลวง อันเป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธไตรรัตนนายก” อันเป็นนามที่รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานให้ ในขณะที่ชาวบ้านจะนิยมเรียกท่านว่า “หลวงพ่อโต” ส่วนคนจีนก็จะเรียกว่า “ซำปอกง”

พระพุทธไตรรัตนนายก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ สีทองสุกใสอร่ามตา องค์สูงใหญ่ขนาดที่ฉันต้องเงยหน้าจนสุดจึงจะมองเห็นลักษณะใบหน้าของพระพุทธรูป

"หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่า พระพุทธรูปแต่ละยุคแต่ละสมัยจะไม่เหมือนกัน อย่างหลวงพ่อโตเหมือนกันแต่คนละที่ก็ยังมีใบหน้าที่ไม่เหมือนกัน เช่นหลวงพ่อโตที่วัดพนัญเชิง อยุธยา จะมีใบหน้าที่ค่อนข้างบึ้ง เนื่องจากอิทธิพลของบ้านเมืองที่มีความวุ่นวายและศึกสงคราม แต่มาในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ดังนั้นหลวงพ่อโตที่วัดแห่งนี้จึงมีใบหน้าที่อมยิ้ม สะท้อนถึงลักษณะสังคมอันสงบสุขร่มเย็นในยุคนั้นๆ" หลวงตาเล็กอธิบาย

ฉันได้ฟังดังนั้น พลันเงยหน้าจนสุดเพื่อมองดูใบหน้าขององค์หลวงพ่อโตอีกครั้ง แล้วก็จริงดังที่หลวงตาเล็กเล่า ใบหน้าขององค์หลวงพ่อโตที่ฉันเห็นมีลักษณะอมยิ้มนิดๆ ดูมีความสุขจนทำให้ฉันเผลอยิ้มตอบท่านไปโดยไม่รู้ตัว คนอื่นๆที่เห็นฉันยิ้มอยู่คนเดียว คงไม่คิดว่าฉันบ้าหรอกนะ เพราะคนส่วนใหญ่ก็มาที่วัดไหว้พระทำบุญเพื่อให้จิตใจสุขสงบกันทั้งนั้น

หลังจากที่ฉันนั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่กับองค์หลวงพ่อโตสักพัก ก็ทำให้ฉันนึกขึ้นมาได้ว่าสำหรับหลวงพ่อโตองค์ใหญ่เช่นนี้มักจะมีพิธีห่มผ้าหลวงพ่อโตอยู่เสมอๆวันละหลายรอบ แต่วันนี้ฉันยังไม่เห็นพิธีห่มผ้าเลย แม้ผู้คนจะแวะเวียนเข้ามากราบไหว้อยู่ตลอดก็ตาม

พระวิหารหลวงแบบไทยในวัดกัลยาณมิตร


หลวงตาเล็กจึงได้บอกให้ฉันหายข้องใจว่า “พิธีห่มผ้าหลวงพ่อโตนั้น ทางวัดได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากว่ามันดูไม่เหมาะสม ไม่น่าดู เวลาฝรั่งมาเห็นมาถ่ายรูปไปเห็นคนขึ้นไปยืนอยู่บนพระพุทธรูปก็ดูไม่เหมาะไม่ควร อะไรๆมันอยู่ที่จิตใจ อยู่ที่การอธิฐาน ดังนั้นมันอยู่ที่จิตใจเรา มันไม่ได้อยู่ที่ผ้า ไม่ได้อยู่ที่วัตถุ เพียงแต่ยกมือไหว้นับถือท่านก็ดีแล้ว อย่างเช่นเราเอาอะไรต่อมิอะไรมาถวาย เช่น พวกส้ม พวกผลไม้ ถามว่าท่านฉันได้ไหม..ท่านก็ฉันไม่ได้ จริงไหมโยม”

นอกจากหลวงพ่อโตด้านในแล้ว วัดกัลยาณมิตรยังมีเทพจีนให้สักการะอีกหลายองค์


แต่ถึงอย่างนั้นผู้คนก็นิยมถวายสิ่งของต่างๆ เพื่อความสบายใจ ซึ่งสำหรับหลวงพ่อโตองค์นี้ ผู้คนที่มาบนบานสารกล่าวมักจะขอกับองค์หลวงพ่อโตในทุกๆเรื่อง ทั้งเรื่องการค้าขาย ความเจ็บป่วย และความไม่สบายใจทั้งปวง และยังมีเรื่องที่เล่ากันมาว่า เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินทิ้งระเบิดลงตรงวัดกัลยาณมิตรแห่งนี้พอดี แต่ไม่เป็นอันตราย ชาวบ้านในละแวกเชื่อกันว่าเพราะองค์หลวงพ่อโตได้เอามือรับระเบิดแล้วเหวี่ยงไปที่สะพานพุทธฯ จึงทำให้คนที่มาหลบในวิหารปลอดภัย

เรื่องนั้นจะจริงหรือไม่ฉันก็ไม่อาจจะรู้ได้ แต่ที่แน่ๆที่ฉันเห็นก็คือปัจจุบันนี้มีผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้หลวงพ่อโตกันอย่างต่อเนื่อง แม้วันนั้นจะไม่ใช่วันทางศาสนาหรือวันพิเศษใดๆ นั่นทำให้ฉันนึกภูมิใจว่าแม้สังคมจะเจริญไปมากเพียงใด แต่คนไทยก็ยังคงยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย

ไหว้พระทำบุญแล้วแวะให้อาหารสัตว์พร้อมชมวิวสองฝั่งเจ้าพระยาได้ที่ศาลาท่าน้ำ


สำหรับ “พระวิหารหลวง” แห่งนี้ รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นมาในปี พ.ศ.2380 วางรากฐานโดยไม่ได้ตอกเสาเข็ม แต่ใช้วิธีขุดพื้นรูปสี่เหลี่ยม ฐานกว้างและใช้ไม้ซุงทั้งท่อนเรียงทับซ้อนกัน 2-3 ชั้น ลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เชิงชาย หน้าบันสลักลายดอกไม้ปูนปั้นประดับกระจก ประตูหน้าต่างเป็นไม้สักแผ่นเดียวเขียนลายรดน้ำลายทองรูปธรรมบาล ด้านในพระวิหารหลวงมีผนังเป็นลายดอกไม้

หน้าของพระวิหารมีซุ้มประตูหินและตุ๊กตาหินศิลปะแบบจีน ด้านข้างมี “หอระฆัง” ที่สร้างขึ้นโดย พระสุนทรสมาจาร (พรหม) เมื่อปี พ.ศ.2476 ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 9 เมตร สูง 30 เมตร ด้านล่างใช้แขวน “ระฆังใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 192 เซนติเมตร หนักถึง 13 ตัน เลยทีเดียว ส่วนด้านบนประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ

หอระฆังแห่งนี้เป็นอีกที่หนึ่งที่ผู้คนที่มาเยือนวัดกัลยาณมิตรมักจะแวะมาตีระฆังยักษ์ใบนี้กันรวมถึงฉันด้วย ด้านข้างของพระวิหารด้านหนึ่งขนาบด้วย “พระอุโบสถ” ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ มีพระพุทธรูปหล่อปางปาลิไลยก์(ป่าเลไลย์)ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งถือเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์

พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุหรือเข่า พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ มักนิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ด้านหลังของพระวิหารหลวงดูสูงสง่าภายในประดิษฐานหลวงพ่อโต


อีกด้านหนึ่งของพระวิหารหลวงคือ “พระวิหารน้อย” ซึ่งมีลักษณะเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีภาพเขียนพุทธประวัติ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมี “หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ” รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2408 แทนหอไตรหลังเดิม เพื่อเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ เป็นอาคารสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

ด้านหน้าของวัดมี “ศาลาท่าน้ำ” ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดมักจะนิยมมาให้อาหารปลาและนกพิราบที่มีอยู่มากมายบริเวณศาลาท่าน้ำ นอกจากนี้บริเวณนี้ยังสามารชมวิวทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างกว้างขวางสวยงามอีกด้วย

หลังจากที่ฉันนั่งตากลมชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้สักพัก พระอาทิตย์ก็เริ่มคล้อยต่ำลง คงได้เวลาที่ฉันจะลาจากวัดกัลยาณมิตรแห่งนี้กลับเสียที ซึ่งแม้จะเย็นย่ำแต่ฉันก็ยังคงเห็นผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้หลวงพ่อโตกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ วัยชรา นี่ก็เป็นภาพความประทับใจอีกอย่างของฉันนอกจากความอิ่มบุญอิ่มใจที่ฉันได้กลับมาจากการมาวัดในครั้งนี้

* * * * * * * * * * * * * *

"วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร" ตั้งอยู่ที่ 371 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ พระวิหารหลวงเปิดให้ชมเวลา 07.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร.0-2466-4643, 08-1983-8754

ที่มา จากหนังสือพิมพ์ "ผู้จัดการออนไลน์" โดย คุณหนุ่มลูกทุ่ง


ไปข้างบน
แลกเปลี่ยนความรู้ - แสดงความคิดเห็นของท่านได้ที่นี่
ความเห็นท้ายข่าว: 
โดยคุณ: 

เชื่อมต่อฐานข้อมูลไม่ได้