หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
ชม Video โอลิมปิก  ปักกิ่ง 2008 (Beijing 2008  Olympic Games)
ฐานิยปูชา ๒๕๕๒
ฐานิยปูชา ๒๕๕๑
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมา
เชิญชม การ์ตูนแอนนิเมชั่น  เสี้ยวลิ้มยี่  (The Legend of Shaolin Kung Fu)
เชิญชม VDO น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
เชิญชม ประวัติศาสตร์การเมือง ตอน ปิดตำนานทักษิณ
เจ้าแม่กวนอิม
ชมตัวอย่างภาพยนตร์,หนัง
คลังเก็บรูปภาพ

จิตฟุ้งซ่านหรือเกิดปัญญา

ถ้าใครสามารถทำสมาธิไปถึงจุดที่เรียกว่าจิตสงบนิ่งจนร่างกาย ตัวตนหาย รู้สึกว่าในจักรวาลนี้มีแต่จิตของเราดวงเดียวเท่านั้น ทีนี้ภายหลังมา มาทำสมาธิภาวนา พอจิตสงบพั้บ ความคิดมันฟุ้ง ฟุ้งๆๆๆๆ ขึ้นมา จะให้มันไปสู่จุดนั้นมันไม่ยอมไป นั่นแหละจึงจะรู้สึกตัวว่า ความคิดที่เกิดขึ้น จิตมันฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน

ความจริงนี่ ถ้าหากว่าความคิดเกิดขึ้น เรายินดียินร้าย พอใจ ไม่พอใจ มันก็เป็นจิตฟุ้งซ่าน แต่ถ้ามันสักแต่ว่าคิด คิดแล้วทิ้งไปๆ มันไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน ถึงแม้ว่ามันจะฟุ้งซ่านก็ตาม ไม่ฟุ้งซ่านก็ตาม เราเอาสติกำหนดรู้ไปๆๆๆ เมื่อจิตของเรามีพลังเข้มแข็งทางสมาธิแล้ว แล้วสติปัญญามันรู้ทันกัน ถ้าสิ่งใดมันเกิดความพอใจยินดีขึ้นมา มันก็จะรู้ตัวว่านี่คือกามตัณหา ถ้ามันยินร้าย นี่คือวิภวตัณหา ถ้ามันไปยึด นี่คือภวตัณหา

ทีนี้จิตมันจะปรุงแต่งไป สุขไป ทุกข์ไป สติก็ตามรู้ๆๆ เรื่อย ไป ในเมื่อมันมีพลังทางสติปัญญาเข้มแข็งขึ้นมา พอมันหยุดกึ๊กลงไป นิ่งปั๊บนิดหน่อย พอไหวตัวพั้บ อ้อ! นี่คือทุกขอริยสัจที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้มา มันจะไปตามครรลองของมันอย่างนี้



เพราะฉะนั้น ถ้าเรามัวแต่ห้ามจิตไม่ให้คิด ให้นิ่งอยู่เฉยๆ มันไม่มีอารมณ์สิ่งรู้ ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายให้เรากำหนดรู้ว่า อะไรไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

นักภาวนาที่บางทีเสียประสาท เพราะไปฝืนธรรมชาติของ สมาธิ เวลามันจะสงบลึกลงไปนี่ ไปรั้งมันไว้ ดึงมันไว้ ไปฝืนมัน ก็เกิดความตึงเครียดขึ้นมา เวลามันจะเกิดความรู้ความคิดขึ้นมา ไปเข้าใจว่าฟุ้งซ่าน จะไปบังคับให้มันหยุด ไปฝืนธรรมชาติของสมาธิ มันก็เป็นความตึงเครียดขึ้นมา ปวดหัวมัวเกล้าขึ้นมาทุกที ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ให้มีตัวรู้ตาม มันจะนิ่งไปก็ปล่อยให้นิ่ง มันจะปรุงแต่งก็ปล่อยให้ปรุงไป

โดยธรรมชาติของสมาธิโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะเป็นอย่างนี้ แต่ ว่าเราไปยึดกันเพียงแค่ว่า สมาธิคือจิตตั้งมั่น ปราศจากอารมณ์ ความนึกคิด เราไปเอาอย่างนั้นอย่างเดียว



ไปข้างบน