พระวินัยกับกฎหมายบ้านเมือง
พระภิกษุไปต่างประเทศ สิ่งของบางอย่างเขาห้ามนำออก หรือห้ามนำเข้า จะนำออกนำเข้าต้องเสียภาษี ได้รับอนุญาตจากด่าน ศุลกากรแล้วก็เสียภาษีตามกฎหมาย แต่ถ้าพระภิกษุไปซุกซ่อนสิ่ง ของหนีภาษี พอนำของนั้นผ่านด่านตรวจ พ้นไปได้ ถึงแม้ว่าเจ้า หน้าที่จับไม่ได้ พระภิกษุก็เป็นอาบัติ เป็นอาบัติปาราชิก
ยกตัวอย่างเช่น ทางผ่านเขตแดน อย่างหลวงพ่อเคยไปที่ ประเทศลาว บุหรี่ เขาอนุญาตให้นำออกไปได้ ๒๐๐ มวน นำเข้ามา ได้ ๒๐๐ มวน โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องเสียภาษี ถือว่าเป็น ของใช้สำหรับตัว แต่ถ้าหากว่าพระภิกษุไปนำบุหรี่มาเกินกว่า ๒๐๐ มวน เป็นการผิดกฎหมาย เป็นการหลบภาษี พระภิกษุนำผ่านด่าน นั้นไป พอพ้นเขตไปเท่านั้น ต้องอาบัติปาราชิก
ในบางครั้งบางทีพระอาจจะไปเห็นของชอบใจ เช่น เห็นปากกา เห็นนาฬิกาที่มีราคา แล้วนึกชอบใจ คิดว่าเราจะขโมยเอาของนี้ แล้ว ก็ไปหยิบของให้เคลื่อนไปจากที่ของมัน พอของนั้นเคลื่อนจากที่เท่า นั้น พระต้องอาบัติปาราชิก เมื่อมานึกได้ว่าขโมยของท่านเป็น อาบัติปาราชิก แล้วเอาไปวางไว้ตามเดิม อาบัติของพระก็ไม่คืนดีมา อย่างเก่า เพราะมันขาดตั้งแต่วาระแรกแล้ว
แล้ววินัยนี่มันแตกต่างกับกฎหมาย มีอยู่อันหนึ่ง พระภิกษุ ก. โกรธแค้นนาย ข. แล้วไปจ้างนาย ค. ให้ไปฆ่านาย ข. ถ้าหาก ว่านาย ค. ผู้รับจ้าง มาฆ่านาย ข. ตาย พระต้องอาบัติปาราชิก แต่ ถ้าหากว่านาย ค. ผู้รับจ้าง ไปจ้างนาย ง. ต่อ แล้วนาย ง. มาฆ่า นาย ข. ตาย พระไม่เป็นอาบัติปาราชิกตามพระวินัย แต่ถ้าเป็นกฎหมาย เป็นการสมรู้ร่วมคิด แต่วินัยนี่ไม่เป็นอาบัติปาราชิก เพราะพระจ้าง นาย ค. แต่นาย ค. ไม่ไปปฏิบัติด้วยตนเอง ไปจ้างคนอื่นมาทำหน้าที่ แทน เพราะการจ้างวานคนต่อไปนั่น เป็นเรื่องของนาย ค. แต่พระพ้นไปแล้ว
อันนี้ วินัยท่านบัญญัติไว้อย่างนี้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายเขาก็ว่า สมรู้ร่วมคิดกัน อันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวินัย ซึ่งเป็นอกรณียกิจคือ กิจที่ไม่ควรทำ
|