วิปัสสนาญาณ-ภาวนามยปัญญา เป็นอย่างไร
ในเมื่อจิตมันกระโดดไปกระโดดมา กระโดดไปกระโดดมา เหมือนลิงที่เขาผูกไว้บนต้นไม้ เมื่อเป็นเช่นนั้น มันเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร
มันเป็นวิปัสสนาได้ เพราะจิตมีสติตามรู้อารมณ์ที่มันเกิดขึ้นดับไป แล้วมันจะรู้สึกว่ามันมาจ่ออยู่ที่จุดที่เกิดอารมณ์เท่านั้น มันไม่วิ่งตามอารมณ์
เมื่อมันมาจ่ออยู่ที่เกิดอารมณ์นี่ มันก็เป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ถ้ามันวิ่งไปวิจัยเรื่องอารมณ์ มันก็เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในเมื่อจิตมันมองเห็นความตายชัดเจน ในขณะที่มันรู้เห็นอยู่นั่น มันก็ได้แค่เฉยอยู่ พอมันถอนจากสมาธิ พอรู้สึกว่ามีกาย มันจะ เกิดความรู้ขึ้นมา บางทีมีคำถาม “นี่หรือคือการตาย” “ใช่แล้ว”
พอ “ใช่แล้ว” มันก็จะอธิบายฉอดๆๆๆ ของมันไปเอง เราไม่มีเจตนา สัญญาเจตนาที่จะให้มันเป็นไปอย่างนั้น แต่มันเป็นเองโดยอัตโนมัติ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
ความคิดที่มันเกิดผุดขึ้นมาๆๆ อันนั้นยังไม่ใช่ปัญญา เพราะมันยังไม่ตัดสิน เมื่อมันไปหยุดกึ๊กลงไป อ้อ! ความคิดมันก็เกิด-ดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี่คือปัญญาในสมาธิ
แม้แต่ว่าจิตของเรามันปรุงแต่ง ปล่อยให้มันปรุงไปตามเรื่องตามราวของมัน มันมีแต่สติตามรู้ๆๆ กันอยู่ ถ้ามันไปนึกถึงสิ่งใดที่เคยทำผิดพลาดมาแล้ว พอมันทักตัวเองว่า “อ้อ! สิ่งนี้เจ้าเคยทำผิด มาแล้ว เจ้าไม่ควรทำอีก” อันนี้คือการรู้ธรรมเห็นธรรมตามความ เป็นจริง
ในเมื่อจิตมันรู้ขึ้นมาอย่างนี้ มันยอมรับสภาพความจริงแล้ว มั นก็ไม่อยากทำสิ่งนั้นอีกต่อไป มันก็หยุดเพียงแค่นั้น อันนี้คือ ความรู้จริง
แต่ท่านเขียนเป็นตำราไว้อย่างสูงสุด รู้จริงนี่ คือ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันนั้นมันขั้นตำรา
ทีนี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มัน อยู่ที่ไหน มันอยู่ในเรื่องชีวิตประจำวัน
ถ้าฉันมองเห็นเธอ แล้วเกิดรักเกิดชอบขึ้นมา ก็ กามตัณหา
ถ้ามองเห็นแล้วมันเกลียด ก็เป็น วิภวตัณหา
ถ้าไปยึดมั่นถือมั่น ก็ ภวตัณหา
|