หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมา
เชิญชม การ์ตูนแอนนิเมชั่น  เสี้ยวลิ้มยี่  (The Legend of Shaolin Kung Fu)
เชิญชม VDO น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
เชิญชม ประวัติศาสตร์การเมือง ตอน ปิดตำนานทักษิณ
เจ้าแม่กวนอิม
ชมตัวอย่างภาพยนตร์,หนัง
ฐานิยปูชา ๒๕๕๑

ทางสายกลางคืออะไร

ถ้าตาเราเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจนึกคิด ถ้าจิตเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันก็ไม่เกิด

ถ้าเกิดความยินดีเกิดความยินร้าย เกิดความยึดมั่นในอารมณ์ นั่น มันก็กลายเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ความยินดี เป็น กามตัณหา
ความยินร้าย เป็น วิภวตัณหา
ความยึดมั่น เป็น ภวตัณหา
เมื่อเป็นเช่นนั้น สุข-ทุกข์ก็เกิดขึ้นสลับกันไป

ในเมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้อยู่ทุกระยะ ๆ ในเมื่อมันรู้แจ้ง เห็นจริงขึ้นมา มันจะบอกว่า อ้อ! นี่คือ ทุกขอริยสัจ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วมันจะรู้ต่อไปว่านอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป

เมื่อรู้แจ้งเห็นชัด จิตก็เป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลาง สว่างไสว มีปีติ มีความสุข มันก็เป็น มัชฌิมาปฏิปทา ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ถึงพร้อมลงในจุดนั้น มรรค ๘ ประ ชุมพร้อมลงในจุดนั้น มันก็เป็นอริยมรรค

เพราะฉะนั้น ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ พระองค์ไม่ได้สอนให้ละทุกข์

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ หาตัพพันติ เม ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมุทัยอันเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดเป็นสิ่งที่ควรละ ไปละที่เหตุ

ในเมื่อจิตละสมุทัยได้ช่วงๆๆ แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

แล้วจะทำทุกขนิโรธให้แจ้งได้อย่างไร ในเมื่อมันถึงขั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้ว เราไม่ได้ทำหรอก มันเป็นเองของมัน จิตมันก็กำหนดรู้ของมันอยู่นั่น

ในเมื่อจิตกำหนดรู้ รู้อยู่เฉยๆ มันก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง จิตไม่หวั่นไหว ไม่อคติ ไม่ลำเอียง ต่อเหตุการณ์นั้นๆ มันก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง



ไปข้างบน