ปฏิบัติศีล ๕ ได้อะไร
เมื่อเรามีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี ความเป็นมนุษย์ของเราก็สมบูรณ์ กายเป็นปกติ วาจาก็ปกติ ในเมื่อกาย วาจา ปกติ ใจก็พลอยปกติไปด้วย
เมื่อเราไม่ฆ่าใคร ใครหนอจะมาฆ่าเรา เมื่อเราไม่ประทุษร้ายใคร ใครหนอจะมาประทุษร้ายเรา เราเคารพในสิทธิเสรีภาพของมวลมนุษย์ด้วยกัน คนอื่นก็ต้องเคารพต่อเรา
รู้ให้ทัน
สมาธินี่เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ
หลับตาก็ทำได้ ลืมตาก็ทำได้ นอนก็ทำได้
เพียงเราไม่นึกอะไร บริกรรมภาวนาในใจ
เราก็กำหนดไว้ที่ใจว่า
รู้อะไรแล้วก็ตาม
จะตามรู้ให้มันทัน
ความคิด คิดอะไรขึ้นมารู้ทัน รู้ให้ทัน
เราทำอะไรก็ให้ทันการกระทำของเรา
คิดอะไรก็ให้ทันความคิดของเรา
พูดอะไรให้ทันคำพูดของเรา
ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
อันนี้เป็นการทำสมาธิ ไม่ต้องบริกรรมภาวนาอะไรก็ได้
สำคัญอยู่ที่การทำสติ
สมาธินอกหลักพระพุทธศาสนา
สมาธินอกหลักพระพุทธศาสนายิ่งทำได้มากเท่าไร
ก็ยิ่งอวดกล้าอวดเก่ง มีทิฏฐิมานะ
กิเลสยิ่งตัวใหญ่ตัวโตขึ้นมา
ถ้าหากว่าท่านเคยได้อ่านประวัติของพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านอาจารย์มั่นได้ออกบำเพ็ญกรรมฐานในตอนต้น ท่านก็ได้ศึกษาตามลัทธิกรรมฐานโบราณ ทีนี้การศึกษาตามลัทธิกรรมฐานโบราณนั้น ท่านทำตามรูปแบบของหลักวิชาการนั้นๆ เรียกว่า เรียนธรรม ซึ่งสุดแท้แต่ครูบาอาจารย์ท่านจะประสิทธิ์ประสาทสั่งสอนมาอย่างไร
วิธีการก็มีการขึ้นครูกรรมฐานแล้วก็ภาวนาไปเป็นขั้นตอน ในเมื่อทำจิตสงบลงไปได้แล้ว ก็รู้สึกว่าทำอะไรก็ได้ เช่น จะทำเครื่องรางของขลัง ก็ขลัง อยากรู้จิตใจของผู้อื่นก็รู้ได้ อยากจะรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ก็รู้ได้
แต่เมื่อมาสังเกตดูแล้ว ยิ่งรู้ยิ่งเก่ง ตัวกิเลสทิฏฐิมานะ ความทะนงตัวมันก็ยิ่งมากขึ้นทุกทีๆ คือว่าไม่เป็นไปเพื่อความหมดกิเลส อันนี้คือหลักฐานสมาธิในลัทธินอกพระพุทธศาสนา ยิ่งบำเพ็ญเก่งเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มกิเลสหนักขึ้นเท่านั้น
เพราะฉะนั้น สมาธิอันนี้จึงไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อการสร้างกิเลส แต่ สมาธิที่จะดำเนินไปเพื่อความหมดกิเลสอย่างจริงจังนั้นต้องขึ้นต้นด้วยศีล อ่านต่อ...