buddha081
The side view of the stupa at Mahabodhi Temple Complex in Bodh Gaya, India. The Mahabodhi Vihar is a UNESCO World Heritage Site.
Date: 5/6/2022
The side view of the stupa at Mahabodhi Temple Complex in Bodh Gaya, India. The Mahabodhi Vihar is a UNESCO World Heritage Site.
buddha080
Mahabodhi temple, bodh gaya, India. Buddha attained enlightenment here. Bodh Gaya is a religious site and place of pilgrimage associated with the Mahabodhi Temple Complex in Gaya district in the Indian state of Bihar. It is famous as it is the plac
Date: 4/21/2022
Mahabodhi temple, bodh gaya, India. Buddha attained enlightenment here.
Bodh Gaya is a religious site and place of pilgrimage associated with the Mahabodhi Temple Complex in Gaya district in the Indian state of Bihar. It is famous as it is the place where Gautama Buddha is said to have attained Enlightenment (Pali: bodhi) under what became known as the Bodhi Tree. Since antiquity, Bodh Gaya has remained the object of pilgrimage and veneration for both Hindus and Buddhists.
For Buddhists, Bodh Gaya is the most important of the main four pilgrimage sites related to the life of Gautama Buddha, the other three being Kushinagar, Lumbini, and Sarnath. In 2002, Mahabodhi Temple, located in Bodh Gaya, became a UNESCO World Heritage Site.
โพธคยา หรือชาวไทยนิยมเรียก พุทธคยา เป็นพื้นที่ทางศาสนาและสถานที่จาริกแสวงบุญที่มีความเกี่ยวเนื่องจากหมู่มหาโพธิวิหาร โพธคยาตั้งอยู่ในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาของศาสนาพุทธ ภายใต้ต้นโพธิ์ นับตั้งแต่ในอดีต โพธคยาได้สถานะเป็นสถานที่ทางศาสนาต่อทั้งชาวฮินดูและชาวพุทธมาตลอด
สำหรับชาวพุทธ โพธคยาเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญสี่แห่ง (สังเวชนียสถาน) อีกสามแห่งได้แก่ กุศินคร, ลุมพินี และ สารนาถ ในปี 2002 มหาโพธิวิหารซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโพธคยาได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก
buddha077
Maya Devi Temple, Lumbini, Nepal. Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุ
Date: 7/24/2018
Maya Devi Temple, Lumbini, Nepal. Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
buddha075
Maya Devi Temple, Lumbini, Nepal Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัม
Date: 6/22/2018
Maya Devi Temple, Lumbini, Nepal
Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha
ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้
Siddhartha Gautama, the Lord Buddha, was born in 623 B.C. in the famous gardens of Lumbini, which soon became a place of pilgrimage. Among the pilgrims was the Indian emperor Ashoka, who erected one of his commemorative pillars there. The site is now being developed as a Buddhist pilgrimage centre, where the archaeological remains associated with the birth of the Lord Buddha form a central feature.
buddha073
Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แ
Date: 11/25/2013
Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha
ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้
Siddhartha Gautama, the Lord Buddha, was born in 623 B.C. in the famous gardens of Lumbini, which soon became a place of pilgrimage. Among the pilgrims was the Indian emperor Ashoka, who erected one of his commemorative pillars there. The site is now being developed as a Buddhist pilgrimage centre, where the archaeological remains associated with the birth of the Lord Buddha form a central feature.
buddha001
อสิตะดาบสเข้าเฝ้าเยี่ยมและถวายพยากรณ์
ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนึ่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ ได้สมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มาก เป็นกุลุปกาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางเข้าไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข
Date: 4/6/2004
อสิตะดาบสเข้าเฝ้าเยี่ยมและถวายพยากรณ์
ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนึ่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ ได้สมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มาก เป็นกุลุปกาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางเข้าไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะในพระราชนิเวศน์ ถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนมัสการท่านอสิตะดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรส กลับขึ้นไปปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตะดาบสเป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้น ก็สดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมาร ก็ทราบชัดด้วยปัญญาญาณ มีน้ำใจเบิกบาน หัวเราะออกมาได้ด้วยความปีติโสมนัส ประนมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตะดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน
พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกล ก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตะดาบสว่า อภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจท้าวมหาพรหม จึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชมชื่นอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตะดาบสคลายความยินดีโศกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะ เฉพาะหน้า
อสิตะดาบสก็ถวายพระพรพรรณนาถึงมูลเหตุ ว่าเพราะอาตมาพิจารณาเห็นเป็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบรูณ์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยพระกระแสแห่งธรรมเทศนา เป็นคุณที่น่าโสมนัสยิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้ว คงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
ครั้นอสิตะดาบทถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาว นำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกะมานพ ผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด
buddha002
โกญฑัญญะพราหมณ์ยกนิ้วมือเดียวพยากรณ์
ครั้นถึงวันเป็นคำรบ ๕ นับแต่พระกุมารประสูติมา พระเจ้าสุทโธทนะราชจึงโปรดให้ทำพระราชพิธีโสรจสรงองค์พระกุมารในสระโบกขรณี เพื่อถวายพระนามตามขัตติยราชประเพณี โปรดให้ตกแต่งพระราชนิเวศน์ ประพรมด้วยจตุรสุคนธชาติ และได้โปรยปรา
Date: 4/6/2004
โกญฑัญญะพราหมณ์ยกนิ้วมือเดียวพยากรณ์
ครั้นถึงวันเป็นคำรบ ๕ นับแต่พระกุมารประสูติมา พระเจ้าสุทโธทนะราชจึงโปรดให้ทำพระราชพิธีโสรจสรงองค์พระกุมารในสระโบกขรณี เพื่อถวายพระนามตามขัตติยราชประเพณี โปรดให้ตกแต่งพระราชนิเวศน์ ประพรมด้วยจตุรสุคนธชาติ และได้โปรยปรายซึ่งบุบผาชาติ มีข้าวตอกเป็นคำรพ ๕ ปูลาดอาสนะอันขจิตด้วยเงินทองและแก้ว ตกแต่งข้าวปายาสอันประณีต ให้ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี และเสนามุขอำมาต์ย ทั้งปวงพร้อมกันในพระราชนิเวศน์ รับสั่งให้เชิญพระราชโอรสอันประดับด้วยราชประสาธนาภรณ์อันวิจิตรมาสู่มหามณฑลสันนิบาต แล้วเชิญพราหมณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในไตรเพท ๑๐๘ คน ให้เลือกสรรเอาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทรงคุณวิทยาประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้นั่งเหนืออาสนะอันสูง แล้วให้เชิญพระราชโอรสไปยังที่ประชุมพราหมณ์ ๘ คนนั้น เพื่อพิจารณาพระลักษณะพยากรณ์
พราหมณ์ ๘ คนนั้น มีนามว่า รามพราหมณ์ ๑ ลักษณะพราหมณ์ ๑ ยัญญพราหมณ์ ๑ ธุชพราหมณ์ ๑ โภชพราหมณ์ ๑ สุทัตตพราหมณ์ ๑ สุยามพราหมณ์ ๑ โกณทัญญพราหมณ์ ๑ ใน ๗ คนข้างต้น เว้นโกณทัญญพราหมณ์เสีย พิจารณาเห็นพระลักษณะพระกุมารบริบูรณ์ จึงยกนิ้วมือขึ้น ๒ นิ้ว ทูลเป็นสัญลักษณ์ทำนายมีคติ ๒ ประการว่า พระราชกุมารนี้ ผิว่าสถิตอยู่ในฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ผิว่าออกบรรพชาจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่โกณทัญญพราหมณ์ผู้เดียว ผู้มีอายุน้อย หนุ่มกว่าพราหมณ์ทั้ง ๗ คนนั้นได้พิจารณาเห็นแท้แน่แก่ใจว่า พระราชกุมารจะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม่นมั่น จึงได้ยกนิ้วมือเดียว เป็นสัญลักษณ์พยากรณ์เป็นคติเดียวว่า พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยพระมหาบุรุษพุทธลักษณ์โดยส่วนเดียว จะอยู่ครองฆราวาสวิสัยมิได้ จะเสด็จออกบรรพชา และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้
buddha003
ปฐมฌานสมาธิแรกของสิทธัตถะกุมาร
ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล งานแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญ ในงานพระราชพิธีนั้น ก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้า ซึ่งหน
Date: 4/6/2004
ปฐมฌานสมาธิแรกของสิทธัตถะกุมาร
ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล งานแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญ ในงานพระราชพิธีนั้น ก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้า ซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้น เป็นที่ประทับของพระกุมาร โดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงไถแรกนา บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงรักษาพระกุมาร พากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าพระองค์เดียว
เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุข ก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิด
buddha004
เมื่อพระสิทธัตถะกุมารมีพระชนม์เจริญ ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้แล้ว พระราชบิดาจึงทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร พระกุมารทรงเรียนได้ว่องไว จนสิ้นความรู้ของอาจารย์สิ้นเชิง ต่อมาได้ทรงแสดงศิลปธนู ซึ่งถือว่าเป็นวิชาสำคัญสำหรับกษัตริย์ ในท่ามกลางขัตติยวงศ์ศากยราช
Date: 4/6/2004
เมื่อพระสิทธัตถะกุมารมีพระชนม์เจริญ ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้แล้ว พระราชบิดาจึงทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร พระกุมารทรงเรียนได้ว่องไว จนสิ้นความรู้ของอาจารย์สิ้นเชิง ต่อมาได้ทรงแสดงศิลปธนู ซึ่งถือว่าเป็นวิชาสำคัญสำหรับกษัตริย์ ในท่ามกลางขัตติยวงศ์ศากยราช
buddha005
พระบิดาทรงอภิเษกสมรสพระสิทธัตถะกับพระนางพิมพายโสธรา
ดังได้เคยบรรยายไว้ ณ ที่นี้มาแล้วว่า พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้านั้นมีสองฝ่าย คือฝ่าย
พระมารดา และฝ่ายบิดา ทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมือง มีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกั้นพรมแดนพระญาติ
วงศ์ฝ่ายมารดามีชื่
Date: 4/6/2004
พระบิดาทรงอภิเษกสมรสพระสิทธัตถะกับพระนางพิมพายโสธรา
ดังได้เคยบรรยายไว้ ณ ที่นี้มาแล้วว่า พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้านั้นมีสองฝ่าย คือฝ่าย
พระมารดา และฝ่ายบิดา ทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมือง มีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกั้นพรมแดนพระญาติ
วงศ์ฝ่ายมารดามีชื่อว่า 'โกลิยวงศ์' ครองเมืองเทวทหะ พระญาติวงศ์ฝ่ายพระบิดาชื่อ 'ศากยวงศ์' ครอง
เมืองกบิลพัสดุ์
ทั้งสองนครนี้เกี่ยวดองเป็นพระญาติกัน มีความรักกันฉันพี่น้องร่วมสายโลหิต ต่างอภิเษก
สมรสกันและกันเสมอมา สมัยพระพุทธเจ้า ผู้ทรงอยู่ในฐานะประมุขครองเมืองเทวทหะ คือ พระเจ้า
สุปปพุทธะ ส่วนผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ก็เป็นที่ทราบอยู่แล้ว คือ พระเจ้าสุทโธทนะ
พระชายาของพระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระนามว่าพระนางอมิตา เป็นกนิษฐภคินี คือ น้องสาว
คนเล็กของพระเจ้าสุทโธทนะ กลับกันคือ พระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะหรือพระมารดาของพระพุทธเจ้า
มีพระนามว่าพระนางมายา พระนางเป็นน้องสาวของพระเจ้าสุปปพุทธะ ทั้งสองทรงอภิเษกสมรสกับพระ
ภคินีของกันและกัน พระเจ้าสุปปพุทธะมีโอรสและพระธิดาอันเกิดกับพระนางอมิตาสองพระองค์ พระโอรส
คือ เทวทัต พระธิดา คือ พระนางพิมพายโสธรา
ปฐมสมโพธิว่าพระนางพิมพายโสธราเป็นผู้หนึ่งในจำนวน ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า สห
ชาติคือ สิ่งที่เกิดพร้อมกันกับวันที่พระพุทธเจ้าเกิด ๗ สหชาตินั้น คือ
๑. พระนางพิมพายโสธรา
๒. พระอานนท์
๓. กาฬุทายีอำมาตย์
๔. นายฉันนะ มหาดเล็ก
๕. ม้ากัณฐกะ
๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๗. ขุมทองทั้ง ๔ (สังขนิธี, เอลนิธี, อุบลนิธี, บุณฑริกนิธี)
พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายทรงเห็นพร้อมกันว่า พระนางพิมพายโสธราทรงพร้อมด้วยคุณสมบัติ
ทุกอย่าง สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงได้มีขึ้นในสมัยที่ทั้งเจ้าชาย
และเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุได้ 16 ปีพอดี
buddha006
ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสพระนคร ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต (ผู้สื่อข่าวที่ประเสริฐ) ทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ ทรงเห็นว่าโลกนี้เป็นทุกข์จึงมีพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
Date: 4/6/2004
ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสพระนคร ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต (ผู้สื่อข่าวที่ประเสริฐ) ทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ ทรงเห็นว่าโลกนี้เป็นทุกข์จึงมีพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
buddha007
พระสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรมองดูนางระบำที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ต่อการสร้างความรื่นเริงให้ผู้อื่น
เมื่อพระสิทธัตถะทรงตื่นบรรทมในเวลาดึกสงัดแห่งราตรีนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางบำเรอฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีเหล่านั้น นอนหลับอยู่
Date: 4/6/2004
พระสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรมองดูนางระบำที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ต่อการสร้างความรื่นเริงให้ผู้อื่น
เมื่อพระสิทธัตถะทรงตื่นบรรทมในเวลาดึกสงัดแห่งราตรีนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางบำเรอฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีเหล่านั้น นอนหลับอยู่เกลื่อนภายในปราสาท ซึ่งสร้างด้วยแสงประทีป บางนางอ้าปาก กัดฟัน น้ำลายไหล บางนางผ้านุ่งหลุด บางนางกอดพิณ บางนางก่ายเปิงมาง บางนางบ่น ละเมอ นอนกลิ้งกลับไป
buddha008
เสด็จออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกผนวช ติดตามด้วยนายฉันนะ มหาดเล็กคนสนิท ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลี ถือเพศบรรพชิต ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
Date: 4/6/2004
เสด็จออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกผนวช ติดตามด้วยนายฉันนะ มหาดเล็กคนสนิท ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลี ถือเพศบรรพชิต ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
buddha009
พระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้าพระโคตมะ ขอถวายราชสมบัติ
ครั้นพวกราชบุรุษได้เห็นพระมหาบุรุษในขณะเสด็จบิณฑบาต ก็นำความไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร ราชาธิบดีแห่งแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้สะกดรอยติดตาม เพื่อทราบความเท็จจริงของบรรพชิตพิเศษรูปนี้ ครั้นพวกราชบุ
Date: 4/6/2004
พระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้าพระโคตมะ ขอถวายราชสมบัติ
ครั้นพวกราชบุรุษได้เห็นพระมหาบุรุษในขณะเสด็จบิณฑบาต ก็นำความไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร ราชาธิบดีแห่งแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้สะกดรอยติดตาม เพื่อทราบความเท็จจริงของบรรพชิตพิเศษรูปนี้ ครั้นพวกราชบุรุษติดตามได้ความจริงแล้ว ก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงมคธให้ทรงทราบ
พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงสดับ ก็มีพระทัยโสมทัสในพระคุณสมบัติ ทรงพระประสงค์จะได้พบ จึงเสด็จด้วยพระราชยานออกจากพระนครโดยด่วน ครั้นถึงบัณฑวะบรรพต ก็เสด็จลงจากราชยาน เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเฝ้าพระมหาบุรุษเจ้า เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระอิริยาบถเรียบร้อย อยู่ในสมณสังวร ก็ยิ่งหลากพระทัย ทรงเลื่อมใสในปฏิปทาของพระมหาบุรุษ ครั้นได้ทูลถามถึงตระกูล ประเทศ และพระชาติ เมื่อทรงทราบว่าเป็นขัตติยศากยราชเสด็จออกบรรพชา ก็ทรงดำริว่า ชะรอยพระมหาบุรุษจะทรงพิพาทกับพระประยูรญาติ ด้วยเรื่องพระราชสมบัติเป็นแม่นมั่น จึงได้เสด็จออกบรรพชา ซึ่งเป็นธรรมดาของนักพรต ที่ออกจากราชตระกูลบรรพชาแต่กาลก่อน จึงได้ทรงเชื้อเชิญพระมหาบุรุษด้วยราชสมบัติ ซึ่งพระองค์ยินดีจะแบ่งถวายให้เสวยสมพระเกียรติทุกประการ
พระมหาบุรุษจึงตรัสตอบขอบพระทัยพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งมีพระทัยกอรปด้วยพระเมตตา แบ่งสิริราชสมบัติพระราชทานให้ครอบครอง แต่พระองค์มิได้มีความประสงค์จำนงหมายเช่นนั้น ทรงสละราชสมบัติออกผนวช เพื่อมุ่งหมายพระสัพพัญญุตญาณโดยแท้
พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับ ก็ตรัสอนุโมทนา และทูลขอปฏิญญากะพระมหาบุรุษว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ขอได้ทรงพระกรุณาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์ แสดงธรรมโปรด ครั้นพระมหาบุรุษทรงรับปฏิญญาแล้ว ก็ถวายบังคมลากลับเข้าพระนคร
buddha010
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
Date: 4/6/2004
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
buddha011
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
Date: 4/6/2004
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
buddha012
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน มี
Date: 4/6/2004
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) คือทรงผ่อนพระกระยาหารลงตามลำดับจนไม่เสวยอะไรเลย พระวรกายผ่ายผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ด้วยหวังว่าจักทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดา จนถึง
ขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด ปางตาย คือ กัดฟัน กลั้นลมหายใจเข้าออก
และอดอาหาร
พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง เช่น คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ จนถึง
งดเสวยเลย แทบสิ้นพระชนม์ พระกายซูบผอม พระโลมา (ขน) รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้ม
กระดูก เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวน
buddha013
พระโคตมะตั้งสัจจะปฏิญาณว่า
“เราจะไม่ลุกจากที่นั่ง จนกว่าจะบรรลุซึ่งโมกขธรรม”
แต่ทันทีที่พระโคตรมะทรงประทับนั่งด้วยพระทัยแน่วแน่ หมู่มารปีศาจแห่งภาพลวงตาตัวเอง ก็รู้ถึงความตั้งใจของพระโคตมะ และกลัวว่าถ้าพระโคตรมะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ก็จะอยู่เ
Date: 4/6/2004
พระโคตมะตั้งสัจจะปฏิญาณว่า
“เราจะไม่ลุกจากที่นั่ง จนกว่าจะบรรลุซึ่งโมกขธรรม”
แต่ทันทีที่พระโคตรมะทรงประทับนั่งด้วยพระทัยแน่วแน่ หมู่มารปีศาจแห่งภาพลวงตาตัวเอง ก็รู้ถึงความตั้งใจของพระโคตมะ และกลัวว่าถ้าพระโคตรมะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ก็จะอยู่เหนือมาร ทันทีที่มืดค่ำมารก็ปรากฏตัวออกจากเงามืดทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้พระโคตมะบรรลุซึ่งโมกขธรรม
buddha014
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามาร
Date: 4/6/2004
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วม พวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป
buddha015
ตรัสรู้
พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6
Date: 4/6/2004
ตรัสรู้
พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6
buddha016
พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขและขับไล่ธิดามารทั้ง 3
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข บนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น 7 วัน
ครั้นล่วง 7 วันแล้ว จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นไ
Date: 4/6/2004
พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขและขับไล่ธิดามารทั้ง 3
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข บนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น 7 วัน
ครั้นล่วง 7 วันแล้ว จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นไม้มหาโพธิ์ จ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ถึง 7 วัน สถานที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
จากนั้น ทรงนิมิตรัตนจงกรมเจดีย์ เสด็จจงกรมในทิศเหนือแห่งไม้มหาโพธิ์ และทรงจงกรมอยู่ที่นี้อีก 7 วัน
ต่อมา พระพุทธองค์เสด็จไปประทับนั่ง ที่รัตนฆรเจดีย์ เรือนแก้ว ในทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แห่งต้นไม้มหาโพธิ์ ซึ่งเทวดาเนรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด 7 วัน
ต่อนั้น จึงเสด็จไปประทับยังร่มไทร ซึ่งเป็นที่อาศัยพักร่มของคนเลี้ยงแพะ อันมีนามว่า อชปาลนิโครธ
ครั้งนั้น พญาวัสวดีมาร มีความน้อยใจ ที่ต้องพ่ายแพ้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อับอายแก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ต้องยอมให้ พระสิทธัตถะ ล่วงพ้นจากวิสัยของตนไปได้ มีใจโทมนัส จึงหนีออกจากเทวโลก ลงมานั่งในทางใหญ่แห่งหนึ่ง
ขณะนั้น ธิดามารทั้ง 3 นาง คือ นางตัณหา นางราคา นางอรดี ไม่เห็นพญาวัสวดีมาร ผู้เป็นบิดาอยู่ในเทวโลก จึงส่องลงมาที่โลกมนุษย์ด้วยตาทิพย์ ก็เห็นบิดาไปนั่งอยู่ที่ทางใหญ่
นางมารทั้ง 3 จึงพากันมาหาพญาวัสวดีมาร แล้วทูลถามว่า พระบิดาทรงทุกข์ด้วยเหตุประการใด
พญามารก็แจ้งความจริงใจแก่ธิดาทั้ง 3 นั้น ธิดามารทั้ง 3 จึงทูลว่า พระบิดาอย่าทรงทุกข์ร้อนไปเลย ข้าพเจ้าทั้ง 3 จะรับอาสาไปทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจ แล้วจะนำมาถวายพระองค์ให้จงได้
พญามารจึงตรัสว่า ลูกเอ๋ย แต่นี้ไป ไม่มีผู้ใดจะสามารถทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจเสียแล้ว
ธิดามารก็แย้งว่า ข้าพเจ้าทั้ง 3 คงจะพันธนาการพระสิทธัตถะด้วยบ่วง มีราคะเป็นต้น ให้อยู่ได้ เพราะข้าพเจ้าเป็นสตรี จะพยายามไปผูก พระสิทธัตถะ มาให้จงได้ในกาลบัดนี้ พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย
แล้วนางมารทั้ง 3 ก็ทูลลาพระบิดาเข้ามาใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ หม่อมฉันจะบำเรอพระยุคลบาทของพระองค์ถวาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เอาใจใส่ในถ้อยคำของธิดามารทั้ง 3 นั้นเลย ทั้งมิได้ลืมตาขึ้นดูธิดามารทั้ง 3 ด้วยซ้ำ คงประทับนั่งนิ่งอยู่เป็นปกติ
นางมารก็คิดว่า ปกติแล้ว บุรุษย่อมมีความเสน่หาในสตรี ที่มีสรีระรูปผิวพรรณสัณฐานต่าง ๆ กัน แล้วต่างก็เนรมิตเป็นนางงามต่าง ๆ แสดงท่าทางโดยมุ่งหมาย จะให้เป็นที่ต้องพระทัยปรารถนา เข้าทูลเล้าโลมดุจกาลก่อน
แต่ครั้นเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงตรัสประการใด ก็แสดงมายาหญิง โดยอาการพิลาศ ชำเลืองเนตร ฟ้อนรำ ขับร้องต่าง ๆ ทุกวิธีที่เห็นว่า จะคล้องจิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ แต่ก็ไม่สามารถ ทำให้จิตของพระพุทธองค์ผิดปกติ
ต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสขับธิดามารว่า
“ธิดามารเอย เจ้าจงออกไปเสียให้พ้นจากที่นี้ เจ้าจะได้ประโยชน์อะไร ในการที่มาพยายามเล้าโลมตถาคต ด้วยทุกสิ่งที่เจ้ามุ่งหมายนั้น ตถาคตได้ทำลายเสียแล้ว เจ้าควรไปเล้าโลมบุรุษผู้มีราคะบริบูรณ์ เมื่อตถาคตไม่มีร่องรอยอะไรเลย แล้วจะนำตถาคตไปด้วยร่องรอยอะไร ไม่เป็นผลที่มุ่งหมายอันใดแก่เจ้าดอก จงออกไปเสีย”
ทันใดนั้นเอง ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันดาลให้ร่างกายอันงามของธิดามารทั้ง 3 นาง ซึ่งไม่เชื่อฟังพระโอวาท พยายามออดอ้อนอิดเอื้อนอยู่อีก ได้กลับกลายร่างเป็นหญิงชรา น่าสังเวช นางทั้ง 3 เมื่อได้เห็นร่างกายของตนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ก็ตกใจพากันหนี ออกจากที่นั้นทันที และกล่าวกันว่า เป็นความจริงดังพระบิดาของเรา ได้เตือนแล้วแต่แรกว่า ไม่มีใครที่จะมาทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจได้เลย แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น
buddha017
เสด็จประทับร่มไม้มุจจลินท์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิที่ร่มไม้จิก อันมีนามว่า มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก 7 วัน
ช่วงนั้น ฝนตกพรำตลอด 7 วัน พญานาคนามว่า มุจจลินท์นาคราช มีอานุภาพมาก อ
Date: 4/6/2004
เสด็จประทับร่มไม้มุจจลินท์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิที่ร่มไม้จิก อันมีนามว่า มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก 7 วัน
ช่วงนั้น ฝนตกพรำตลอด 7 วัน พญานาคนามว่า มุจจลินท์นาคราช มีอานุภาพมาก อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น มีความเลื่อมใสในรูปพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระรัศมีโอภาส อันงามกว่าเทวดาทั้งหลาย จึงเข้าไปใกล้ แล้วขดเข้าซึ่งขนดกาย แวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ 7 รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบนพระเศียร มิให้ลมและฝน ถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งล่วง 7 วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนด จำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีหน้าพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า
“ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้เห็นธรรมแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไป เป็นสุขอย่างยิ่ง”
buddha018
ท้าวสหัมบดีพรหม อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรม
ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่
ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว ครั้ง
นี้นับเป็นสัปดาห์ที่ ๕
ระ
Date: 4/6/2004
ท้าวสหัมบดีพรหม อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรม
ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่
ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว ครั้ง
นี้นับเป็นสัปดาห์ที่ ๕
ระหว่างที่ประทับอยู่ ณ ที่นี่ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรง
เห็นว่า เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด ก็ทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่า จะมีใครสักกี่คนที่จะฟัง
ธรรมของพระองค์รู้เรื่อง พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย
ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้า
ในตอนนี้ว่า พระดำริของพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหม
จึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งศัพท์สำเนียงอันดังถึงสามครั้งว่า "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้"
ปฐมสมโพธิว่า "เสียงนั้นก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ท้าวสหัมบดีพรหมจึงพร้อมด้วยเทวา
คณานิกรลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม"
ตอนท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้ กวี
ท่านแต่งเป็นอินทรวงศ์ฉันท์ภาษาบาลีไว้ว่า
"พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ"
แปลว่า "ท้าวสหัสบดีพรหม ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า
สัตว์ในโลกนี้ ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาว
โลกเทฮญ"
ต่อมาภาษาบาลีที่เป็นฉันท์บทนี้ ได้กลายเป็นคำสำหรับอาราธนาพระสงฆ์ในเมืองไทยให้
แสดงธรรมมาจนทุกวันนี้
buddha019
ทรงแสดงปฐมเทศนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นการแสดงธรรมครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมเทศนา
Date: 9/5/2010
ทรงแสดงปฐมเทศนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นการแสดงธรรมครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมเทศนา
buddha020
โปรดยสกุลบุตร
สมัยนั้น มีมาณพคนหนึ่งชื่อ ยสะ เป็นบุตรชายของเศรษฐีในเมืองพาราณสีกับนางสุชาดา เป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ พ่อแม่ก็ทะนุถนอมอย่างแก้วตา มีชีวิตการเป็นอยู่คล้ายคลึงกับที่พระสิทธัตถโคตมะ คือพ่อแม่ได้ปลูกเรือนให้ ๓ ฤดู กล่าวคือ มีความสุขสบายที่
Date: 4/6/2004
โปรดยสกุลบุตร
สมัยนั้น มีมาณพคนหนึ่งชื่อ ยสะ เป็นบุตรชายของเศรษฐีในเมืองพาราณสีกับนางสุชาดา เป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ พ่อแม่ก็ทะนุถนอมอย่างแก้วตา มีชีวิตการเป็นอยู่คล้ายคลึงกับที่พระสิทธัตถโคตมะ คือพ่อแม่ได้ปลูกเรือนให้ ๓ ฤดู กล่าวคือ มีความสุขสบายที่สุด ได้รับการบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีประโคมไม่มีบุรุษเจือปน
ค่ำวันหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน หมู่ชนบริวารหลับต่อภายหลัง แสงไฟยังตามสว่างอยู่ ยสกุลบุตรตื่นขึ้นกลางดึก เห็นหมู่ชนบริวารกำลังนอนหลับ มีอากัปกิริยาพิกลต่างๆ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน คือบางนางมีพิณตกอยู่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ที่คอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมีเขฬะไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆ หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจซากศพทิ้งอยู่ในป่าช้า
ครั้นยสกุลบุตรได้เห็นแล้วก็เกิดความสลดใจคิดเบี่อหน่ายมาก ถึงกับออกอุทานว่า”ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ทนดูอากัปกิริยาพิกลต่างๆนั้นไม่ได้ รำคาญใจ จึงสวมรองเท้าเดินออกจากประตูเมือง ตรงไปทางที่จะไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยไม่รู้สึกตัวเองว่าไปถึงไหน
แต่ก็รู้สึกว่าสบายใจ ก็เดินเรื่อยไปไม่หยุด
ในเวลานั้นจวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออกอุทานเช่นนั้น เดินมายังที่ใกล้ จึงตรัสเรียกยสกุลบุตรว่า “ยสะที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด นั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมให้ฟัง“ ยสกุลบุตรได้ยินว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง” มีความพอใจ จึงถอดรองเท้าเข้าใกล้ ถวายบังคมแล้วนั่งที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงตรัสอนุปุพพิกถาเทศนา คือ ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ ได้แก่ การพรรณนาทานกถา การให้ก่อน แล้วพรรณนาศีล ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทาน พรรณนาสวรรค์ พรรณนาโทษของกามคุณ ที่บุคคลใคร่ ซึ่งความสุขไม่ยั่งยืน และพรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม อันเป็นลำดับแห่งโทษของกามเรียกว่าเนกขัมมะ ฟอกจิตของยสกุลบุตรให้ปราศจากมลทินให้เป็นจิตสมควรรับธรรมเทศนา ให้เกิดดวงตาเห็นธรรมเหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรแก่การได้รับน้ำย้อมฉะนั้น แล้วทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมพิเศษเป็นโสดาบุคคล
ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร ขึ้นไปบนเรือนในเวลาเช้า ไม่เห็นลูกชายจึงบอกแก่ท่านเศรษฐีผู้สามีให้ทราบ ท่านเศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนตนเองก็ออกเที่ยวหาด้วยบังเอิญไปในทางที่จะไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวัน
ได้เห็นรองเท้าของลูกชายตั้งอยู่ ณ ที่นั้นแล้วตามเข้าไปใกล้
ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว พระบรมศาสดาได้ตรัสอนุปุพพิกถาเทศนาอริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีได้เห็นธรรมแล้ว เศรษฐีทูลสรรเสริญธรรมเทศนาแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกว่า “ข้าพเจ้าถึงพระองค์กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะที่พึงระลึกที่นับถือ
ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” เศรษฐีเมืองพาราณสีนั้นได้เป็นอุบาสก อ้างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ สรณะ ก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก
ครั้งนั้นยสกุลบุตรได้พิจารณาภูมิธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสสอนเศรษฐีผู้เป็นบิดาอีกวาระหนึ่ง
จิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้วจึงบอกความว่า “พ่อยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศก พิไรรำพัน เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด” ยสกุลบุตรแลดูพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่เศรษฐีให้ทราบว่า
“ยสกุลบุตร ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ใช่ผู้ควรจะกลับไปครองเรืองอีก” เศรษฐีทูลสรรเสริญว่า “เป็นลาภของยสกุลบุตรแล้ว” และทูลอาราธนาพระบรมศาสดา กับยสกุลบุตรเป็นผู้ตามเสด็จ เพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้น ครั้นเศรษฐีทราบว่า พระบรมศาสดาทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพแล้ว ก็ลุกจากที่นั่งแล้วถวายอภิวาท ทำประทักษิณ (คือเดินเวียนขวา) ๓ รอบ แล้วหลีกไปยังเรือนแห่งตน และแจ้งเรื่องทั้งหมดให้ภรรยาและสะใภ้ได้ทราบ พร้อมกับให้จัดอาหาร บิณฑบาตเช้า เพื่อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
เมื่อเศรษฐีผู้บิดาทูลลาพระบรมศาสดากลับไปไม่ช้า ยสกุลบุตรจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้อุปสมบทด้วยพระวาจาว่า ”เอหิภิกขุ ท่านจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” เช่นเดียวกับที่ทรงประทานแก่ปัญจวัคคีย์ แต่ในที่นี้ไม่ตรัสว่า ”เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว คือเป็นพระอรหันต์เสียก่อนแล้ว สมัยนั้น ได้มีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๗ ทั้งพระยสะ
buddha021
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดชฎิล 3 พี่น้อง
ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงส่งพระสาวกเหล่าภัททวัคคีย์ ไปประกาศพระศาสนาแล้ว ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปะ อาจารย์ใหญ่ของชฎิล 500 คน
กรุงราชคฤห์นั้น เป็นเมืองห
Date: 4/6/2004
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดชฎิล 3 พี่น้อง
ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงส่งพระสาวกเหล่าภัททวัคคีย์ ไปประกาศพระศาสนาแล้ว ก็เสด็จตรงไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปะ อาจารย์ใหญ่ของชฎิล 500 คน
กรุงราชคฤห์นั้น เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นมหาประเทศ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองโดยสิทธิขาด เป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ ตลอดการค้าขาย เป็นที่รวมอยู่แห่งบรรดาคณาจารย์ เจ้าลัทธิมากมายในสมัยนั้น
ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้น ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นนักบวชจำพวกชฎิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน 3 คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปะโคตร
ท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นพี่ชายใหญ่ มีชฎิล 500 คนเป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสปะ น้องคนกลาง มีชฎิลบริวาร 300 คน ตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสปะ ส่วนน้องคนเล็ก มีชฎิลบริวาร 200 ตั้งอาศรมอยู่คุ้งใต้แม่น้ำเนรัญชรานั้น ตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะประเทศ จึงได้นามว่า คยากัสสปะ ชฎิลคณะนี้ทั้งหมด มีทิฏฐิหนักในการบูชาไฟ
พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอาศรมของ ท่านอุรุเวลกัสสปะ ในเวลาเย็น จึงเสด็จตรงไปพบอุรุเวลกัสสปะทันที ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสักหนึ่งคืน อุรุเวลสสปะรังเกียจทำอิดเอื้อน ไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระพุทธเจ้า เป็นนักบวชต่างจากลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก
ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาไฟของชฎิล ด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปะได้ทูล ว่า พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย เพราะเป็นที่อยู่ของพระยานาค ที่มีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด อาศัยอยู่ จะได้รับอันตรายจากนาคราชนั้น ให้ถึงอันตรายแก่ชีวิต
เมื่อพระพุทธเจ้ารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย ถ้าท่านอุรุเวลกัสสปะ อนุญาตให้เข้าอยู่ ท่านอุรุเวลกัสสปะ จึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรม
หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ก็เสด็จเข้าไปยังโรงไฟนั้น ประทับนั่งดำรงพระสติ ต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพระยานาค เห็นพระพุทธเจ้า เสด็จเข้ามาประทับในที่นั้น ก็มีจิตคิดขึ้งเคียด จึงพ่นพิษตลบไป
ในลำดับนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงดำริว่า ควรที่เราจะแสดงอิทธานุภาพ ให้เป็นควันไปสัมผัสเนื้อหนังมังสา และเอ็นกระดูกแห่งพระยานาคนี้ ระงับเดชพระยานาคให้เหือดหาย แล้วทรงแสดงอภินิหารดังพระดำรินั้น
พระยานาคไม่อาจอดกลั้นความโกรธได้ ก็บังหวนพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระพุทธเจ้าก็สำแดงเตโชกสิณ บันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชติช่วง และเพลิงทั้ง 2 ฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสง แดงสว่าง ดุจเผาผลาญซึ่งโรงไฟให้เป็นเถ้าธุลี
ส่วนชฎิลทั้งหลาย ก็แวดล้อมรอบโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้ มีสิริรูปงามยิ่งนัก เสียดายที่ท่านมาวอดวายเสีย ด้วยพิษแห่งพระยานาคในที่นั้น
ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธเจ้า ก็กำจัดฤทธิ์เดชพระยานาคให้หมดไป บันดาลให้พระยานาคนั้น ขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสปะ ตรัสบอกว่า พระยานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว
อุรุเวลกัสสปะเห็นดังนั้น ก็ดำริว่า พระสมณะนี้มี อานุภาพมาก ทำให้พระยานาคพ่ายแพ้ไปได้ แต่ว่าก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราเลย มีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์ จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหาร ให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์
พระพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปะนั้น ครั้นตกกลางคืน ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ก็เสด็จลงมาหาพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาท และประดิษฐานยืนอยู่ใน 4 ทิศ มีแสงสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง 4 ทิศ
ครั้นเวลาเช้า อุรุเวลกัสสปะ จึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้าทูลว่า นิมนต์พระสมณะ ไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้ เห็นมีแสงสว่างไปทั่ว ใครมาสู่สำนักพระองค์ จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง 4
พระพุทธเจ้าจึงตรัส บอกว่า ดูก่อน กัสสปะ นั้นคือ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม
อุรุเวลกัสสปะได้สดับดังนั้น ก็ดำริว่า พระมหาสมณะองค์นี้ มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้น ก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา
พระพุทธเจ้า เสด็จมากระทำภัตตกิจ เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับมาสู่ที่พักในตอนกลางวัน
ตกกลางคืน ท้าวสหัสสนัย ก็ลงมาสู่สำนักพระพุทธเจ้า ถวายนมัสการ แล้วยืนอยู่ที่ควรข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่าง ดุจกองไฟใหญ่ สว่างยิ่งกว่าคืนก่อน
ครั้นเพลารุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ ก็ไปหาพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้ มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน ตรัสบอกว่า ดูก่อน กัสสปะ เมื่อคืนนี้ท้าวสักกะ ลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม
อุรุเวลกัสสปะได้ฟังดังนั้น ก็คิดเห็นเป็นอัศจรรย์ เหมือนครั้งก่อน
พระพุทธเจ้าเสด็จไปเสวยภัตตาหาร แล้วกลับมาอยู่ที่พักในเวลากลางวัน
ตกกลางคืน ท้าวสหัมบดีพรหม ก็ส่งมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งแสงสว่างยิ่งขึ้นไปกว่า 2 คืนก่อนอีก
ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปะ ก็ไปทูลอาราธนาฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามอีก ตรัสตอบว่า คืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหม ลงมาสู่สำนักตถาคต อุรุเวลกัสสปะ ก็ดำริดุจนัยก่อน พระพุทธเจ้าเสด็จไปเสวยภัตตาหาร แล้วก็กลับมาสู่สำนัก
ในวันรุ่งขึ้น มหายัญญลาภ บังเกิดขึ้นแก่อุรุเวลกัสสปะ คือชนชาวอังครัฐทั้งหลาย จะนำเอาข้าวปลาอาหารเป็นอันมาก มาถวายแก่อุรุเวลกัสสปะ จึงดำริแต่ในราตรีว่า รุ่งขึ้นพรุ่งนี้ มหาชนจะนำเอาข้าวปลาอาหารมาให้เรา หากพระสมณะรูปนี้ สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ ลาภสักการะ ก็จะบังเกิดแก่ท่านเป็นอันมาก เราจักเสื่อมสูญจากการสักการะบูชา ทำอย่างไร วันพรุ่งนี้ท่านจะไม่มาที่นี้ได้
พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของ อุรุเวลกัสสปะ ด้วยเจโตปริยญาณ ครั้นรุ่งเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปสู่อุตตรกุรุทวีป ทรงบิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้ว ก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้วทรงไปพักในที่นั้น
ตกเย็น พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาที่พักเดิม ครั้นรุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ ไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหาร และทูลถามว่า
“เมื่อวานนี้ ท่านไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึง ความวิตกของอุรุเวลกัสสปะ นั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปะได้ฟัง ตกใจคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีอานุภาพมากแท้ ท่านล่วงรู้จิตเราได้ขนาดนี้ แต่ยังไงเสีย ท่านก็ยังไม่เป็น พระอรหันต์ เหมือนเราอยู่ดี
ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระพุทธเจ้า พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุล ซึ่งห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในอามกสุสานะป่าช้าผีดิบ เมื่อพระพุทธเจ้า เป็นกษัตริย์ชาติตระกูลสูง ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นโมลีของโลกเห็นปานนี้แล้ว ยังทรงลดพระองค์ลงมาซักผ้าขาว ที่ห่อศพนางปุณณทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นกรณีที่สุดวิสัย ของเทวดาและมนุษย์ ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น เป็นเหตุอัศจรรย์ถึง 3 ครั้ง
ตลอดระยะทาง พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เราจะซักผ้าบังสุกุลนี้ในที่ใด? ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัย ทรงทราบในพุทธปริวิตก จึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณี ด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยน้ำ แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้า ให้ทรงซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น
ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงซัก ก็ทรงดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวสหัสสนัย ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่ เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัตถ์ จนหายกลิ่น 4 อสุภะ แล้วก็ทรงพระดำริว่า จะตากผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุกขเทวดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้นั้นลงมา ถวายให้ทรงห้อยตากจีวร ครั้นทรงตากแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงดำริว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าวสหัสสนัยก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่ มาทูลถวายให้แผ่พับผ้ามหาบังสุกุลนั้น
เช้าวันต่อมา อุรุเวลกัสสปะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้มีในที่นั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถามพระบรมศาสดา ตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่ออุรุเวลกัสสปะได้ฟัง ก็สะดุ้งตกใจคิดว่า พระสมณะองค์นี้ มีเดชานุภาพมากยิ่งนัก แม้แต่ท้าวสหัสสนัย ยังลงมาทำการรับใช้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา
พระพุทธเจ้า เสด็จไปเสวยภัตตาหารแล้ว ก็กลับมาพักที่อาศัย ครั้นรุ่งขึ้นในวันต่อมา อุรุเวลกัสสปะ ไปทูลนิมนต์ฉันภัตตกิจ จึงตรัสว่า
“ท่านจงไปก่อนเถิด เราจะตามไปภายหลัง”
เมื่อส่งอุรุเวลกัสสปะไปแล้ว จึงเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีป ในป่าหิมพานต์มาแล้ว ก็เสด็จมาถึงโรงไฟ ก่อนอุรุเวลกัสสปะ ครั้นอุรุเวลกัสสปะมาถึง จึงทูลถามว่า พระองค์มาทางใด จึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสบอกแล้ว ตรัสว่า
“ดูก่อน กัสสปะ ผลหว้าประจำทวีปนี้ มีวรรณสันฐานสุคันธรสเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา”
อุรุเวลกัสสปะ ก็คิดเห็นเป็นอัศจรรย์เหมือนครั้งก่อน ครั้นพระพุทธเจ้า ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับไปยังที่พัก
ในวันต่อมา พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนั้น อีก 4 ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปะมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลมะขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลก นำเอาผลไม้ปาริฉัตตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปะอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง
วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟ ก็มิอาจผ่าฟืนออกได้ จึงคิดว่าที่เป็นแบบนี้ เพราะฤทธิ์พระมหาสมณะทำโดยแท้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้น ชฎิลก็ผ่าฟืนออกได้ตามประสงค์
วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง 500 คน ปรารถนาจะบูชาไฟ ก่อไฟก็ไม่ติด จึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ก่อไฟได้ ไฟก็ติดขึ้นทั้ง 500 กอง พร้อมกันในขณะเดียว ชฎิลทั้งหลายบูชาไฟสำเร็จแล้ว จะดับไฟ ๆ ก็ไม่ดับ จึงดำริดุจหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ดับไฟ ๆ ก็ดับพร้อมกันถึง 500 กอง
วันหนึ่ง ในฤดูหนาว ชฎิลทั้งหลาย ลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลง ในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระกรุณาแก่ชฎิล ทรงดำริว่า เมื่อชฎิลขึ้นจากน้ำแล้วจะหนาวมาก จึงทรงนิรมิตเชิงกราณประมาณ 500 อัน มีไฟติดทั้งสิ้นไว้ในที่นั้น ครั้นชฎิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราณ แล้วก็คิดสันนิษฐานว่า พระมหาสมณะ คงทรงเนรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาล ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ ไหลท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จสถิตอยู่ ณ ประเทศใด แม้ที่นั้นน้ำท่วม ก็ทรงอธิษฐาน มิให้น้ำท่วมเข้าไปในที่นั้นได้ และในครั้งนั้นก็ทรงดำริว่า ตถาคตจะทำให้น้ำนั้นเป็นขอบสูงขึ้นไป ในทิศโดยรอบที่หว่างกลางนั้น จะมีพื้นภูมิภาคจะราบเรียบขึ้นปกติ ตถาคตจะจงกรมอยู่ในที่นั้น แล้วก็ทรงอธิษฐานบันดาล ให้เป็นดังพุทธดำรินั้น
ฝ่ายอุรุเวลกัสสปะนั้น คิดว่าพระมหาสมณะนี้ น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด หรือจะหลีกไปสู่ที่อื่น จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลาย รีบพายไปดูโดยด่วน ถึงที่ที่พระพุทธเจ้าทรงสถิต ก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงล้อมอยู่โดยรอบ แลเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก
พระพุทธเจ้าขานรับว่า “กัสสปะ ตถาคตอยู่ที่นี่” แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศ เลื่อนลอยลงสู่เรือของอุรุเวลกัสสปะ ทำให้อุรุเวลกัสสปะคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีอิทธิฤทธิเป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้น ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา
แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้า เสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน 12 มาประทับอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญ เดือน 2 เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหารย์ ทรมานอุรุเวลกัสสปะ ด้วยประการต่าง ๆ อุรุเวลกัสสปะ ก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก พระพุทธเจ้าจึงทรงดำริว่า เราจะทำให้ชฏิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง จึงมีพระวาจาตรัสแก่ อุรุเวลกัสสปะว่า
“กัสสปะ ท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ อรหัตทั้งทางปฏิบัติของท่าน ก็ยังห่างไกล มิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่า ท่านจึงถือตนว่า เป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตัวเอง ทั้ง ๆ ท่านเองก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใด ยังลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก กัสสปะ ถึงเวลาอันควรแล้ว ที่ท่านจะสารภาพแก่ตัวเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสปะ แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ เร็ว ๆ นี้แหละ”
เมื่ออุรุเวลกัสสปะ ได้ฟังพระโอวาทก็รู้สึกตัว ละอายแก่ใจ ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบท ในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์และพระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
“กัสสปะ ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่ เป็นประธานแก่หมู่ชฎิล 500 คน ท่านจงชี้แจง ให้ชฎิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคต จึงจะให้บรรพชาอุปสมบท”
อุรุเวลกัสสปะ ก็กราบถวายบังคม ลามายังอาศรม แล้วก็บอกชฎิลอันเป็นศิษย์ ซึ่งชฏิลทั้งหลาย ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชา ในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น แล้วชฎิลทั้งหลาย ก็ชวนกันลอยดาบสบริขาร และเครื่องตกแต่งผม ชฏา สาแหรก คาน เครื่องบูชาไฟ ทั้งน้ำเต้า หนังสือ ไม้สามง่าม ในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสทบท พระพุทธเจ้า ก็กรุณาโปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน
ครั้งนั้น ท่านนทีกัสสปะ ผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมา ก็คิดว่า สงสัยอันตรายจะมีแก่ดาบสผู้พี่ชาย จึงใช้ให้ชฎิลสองสามคน อันเป็นศิษย์ไปสืบดู รู้เหตุแล้ว นทีกัสสปะ ก็พาดาบสทั้ง 300 อันเป็นศิษย์ มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสปะ ถามเหตุนั้น
ครั้นทราบความแล้ว นทีกัสสปะและบริวาร ก็เลื่อมใสชวนกัน ลอยเครื่องดาบสบริขาร ลงในแม่น้ำนั้น พากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระพุทธเจ้าก็โปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น ดุจชฎิลพวกก่อนนั้น
ฝ่ายคยากัสสปะ ผู้เป็นน้องน้อย เห็นเครื่องดาบสบริขารของพี่ชาย ลอยน้ำลงมาจำได้ ก็คิดดุจนทีกัสสปะ ผู้เป็นพี่นั้น แล้วพาดาบสทั้ง 200 อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักพระอุรุเวลกัสสปะ ไต่ถามทราบความแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขาร ลงในแม่น้ำ แล้วก็เข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ก็โปรดประทานอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาดังกล่าวแล้ว
พระพุทธเจ้า ทรงทรมานชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น กับทั้งชฎิลบริวาร 1,000 คน ให้สละเสียซึ่งทิฐิแห่งตน แล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น เสร็จแล้วก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์พวกนั้น ไปสู่คยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุ 1,000 นั้น ให้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งสิ้น
buddha022
พระเทวทัตทำสังฆเภท
ต่อมา พระเทวทัตปรารถนาจะเลี้ยงชีพด้วย โกหัญญกรรม คือ การหลอกลวงสืบไป เพื่อจะเเสดงว่า ตนเป็นผู้เคร่งครัด ได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอวัตถุ 5 ประการ เพื่อให้พระพุทธเจ้าบัญญัติ ให้ภิกษุทั้งหลายปฎิบัติโดยเคร่งครัด คือ
1.) ให้อยู่ในเสนา
Date: 4/6/2004
พระเทวทัตทำสังฆเภท
ต่อมา พระเทวทัตปรารถนาจะเลี้ยงชีพด้วย โกหัญญกรรม คือ การหลอกลวงสืบไป เพื่อจะเเสดงว่า ตนเป็นผู้เคร่งครัด ได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอวัตถุ 5 ประการ เพื่อให้พระพุทธเจ้าบัญญัติ ให้ภิกษุทั้งหลายปฎิบัติโดยเคร่งครัด คือ
1.) ให้อยู่ในเสนาสนะป่าเป็นวัตร
2.) ให้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
3.) ให้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
4.) ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
5.) ให้งดฉันมังสาหารเป็นวัตร
ในวัตถุทั้ง 5 ภิกษุรูปใด จะปฎิบัติข้อใด ให้ถือข้อนั้นโดยเคร่งครัด คือให้สมาทานเป็นวัตร ปฎิบัติโดยส่วนเดียว
แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า “ไม่ควร ควรให้ปฎิบัติได้ตามศรัทธา” ด้วยทรงเห็นว่า ยากแก่การปฎิบัติ เป็นการเกินพอดี ไม่เป็นทางสายกลางสำหรับบุคคลทั่วไป
พระเทวทัตโกรธแค้น ไม่สมประสงค์ กล่าวโทษพระพุทธเจ้า ประกาศว่า คำสอนของตนประเสริฐกว่า ทำให้ภิกษุที่บวชใหม่ มีปัญญาน้อย หลงเชื่อ ยอมทำตนเข้าเป็นสาวก
ครั้นพระเทวทัต ได้ภิกษุยอมเข้าเป็นพวกของตนแล้ว ก็พยายามทำสังฆเภท แยกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ ก็โปรดให้หาพระเทวทัตมาเฝ้า รับสั่งถาม พระเทวทัตก็ทูลตามความสัตย์ จึงตรัสห้ามปรามว่า
“ดูก่อนเทวทัต ท่านอย่าพึงทำเช่นนั้น อันสังฆเภทนี้ เป็นครุกรรมใหญ่หลางนัก”
พระเทวทัตมิได้สนใจในพระดำรัส ไปจากที่นั้น พบพระอานนท์ ในกรุงราชคฤห์ ได้บอกความประสงค์ของตนว่า
“ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเลิกจากพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเลิกจากหมู่สงฆ์ทั้งปวง ข้าพเจ้าจะทำอุโบสถสังฆกรรม เป็นการภายในเฉพาะพวกของเราเท่านั้น”
buddha023
ทรงปราบพราหมณ์เจ้าทิฏฐิ
Date: 4/6/2004
ทรงปราบพราหมณ์เจ้าทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดา ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร. พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง. เวรัญชพราหมณ์จึงเกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๘ ข้อ เช่น คำว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางที่ดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมให้ทำบาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย. ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด. เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดั่งนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้น ควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.
buddha024
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (โอวาทสำคัญ) โดยย่อคือ ไม่ทำชั่วทั้งปวง, ทำความดีให้พร้อม และทำจิตของตนให้ผ่องใส แก่พระอรหันต์สาวก 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
Date: 4/6/2004
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (โอวาทสำคัญ) โดยย่อคือ ไม่ทำชั่วทั้งปวง, ทำความดีให้พร้อม และทำจิตของตนให้ผ่องใส แก่พระอรหันต์สาวก 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
buddha025
ช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก
ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในพระประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์ ไม่มีพระภิกษุหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย
ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็น
Date: 4/6/2004
ช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก
ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในพระประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์ ไม่มีพระภิกษุหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย
ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า 'ปาลิไลยกะ' หรือ 'ปาลิไลยก์' ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า 'ป่าปาลิไลยก์' คนไทยเราเรียกว่า 'ป่าปาเลไล' อันเดียวกันนั่นเอง
มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าแห่งนี้ เพราะทรงรำคาญพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีสองคณะพิพาทและแตกสามัคคีกัน ถึงกับไม่ยอมลงโบสถ์ร่วมกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า ได้เสด็จมาทรงระงับให้ปรองดองกัน แต่พระภิษุทั้งสองคณะก็ไม่เชื่อฟัง พระพุทธเจ้าจึงเสด็จหลีกไปจำพรรษาอยู่ในดังกล่าว
ด้วยอำนาจพุทธบารมีและพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ช้างชื่อปาลิไลยก์ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เช้าขึ้นหาผลไม้ในป่ามาถวาย ตอนเย็นต้มน้ำร้อนถวายพระพุทธเจ้าด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้ร้อนลงในแอ่งน้ำ
ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้นำรวงผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน ลิงจึงเข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู เมื่อเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงนำตัวอ่อนออกหมดแล้วนำแต่ผึ้งหวานเข้าไปถวายใหม่ คราวนี้พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วฉัน ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้ เห็น
พระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตน ก็ดีใจ กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมาถูกตอไม้แหลมเสียบท้องทะลุตาย
เมื่อออกพรรษา พระภิกษุที่แตกกันเป็นสองฝ่ายยอมสามัคคีกัน เพราะชาวบ้านไม่ยอมทำบุญใส่บาตรให้ ได้ส่งผู้แทนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเข้าเมือง ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา
เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า
"ปาลิไลยก์! ถิ่นของเธอหมดแค่นี้ แต่นี้ไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ เธอไปด้วยไม่ได้หรอก"
ช้างปาลิไลยก์ยืนร้องไห้เสียใจไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าลับสายตาก็เลยอกแตกตายอยู่ ณ ที่นั้น คัมภีร์บอกว่าทั้งลิงและช้างตายแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร
buddha026
พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท
ภาพที่เห็นอยู่นั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา ผู้เคยเป็นพระ
ชายา เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คือเมื่อยังไม่ได้เสด็จออกบวช
วันที่พระพุทธเจ้
Date: 4/6/2004
พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท
ภาพที่เห็นอยู่นั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา ผู้เคยเป็นพระ
ชายา เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คือเมื่อยังไม่ได้เสด็จออกบวช
วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพานี้ เป็นวันเดียวกับที่เสด็จไปทรงภัตตาหารใน
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ดังได้บรรยายไว้แล้ว สถานที่เสด็จไปโปรดพระนางพิมพา
คือ ปราสาทที่ประทับของพระนางนั่งเอง ผู้ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาในการนี้ มีพระสารีบุตร พระโมค
คัลลานะ ผู้สองอัครสาวก และพระเจ้าสุทโธทนะ
พระนางพิมพาทรงเศร้าโศกเสียพระทัย ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชเป็นต้นมา
ด้วยเข้าพระทัยว่า พระนางถูกพระพุทธเจ้าทรงทอดทิ้ง ยิ่งเมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์
ครั้งนี้ ความเสียพระทัยยิ่งมีมากขึ้น ขนาดพระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระนางยังเสด็จ
มาไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาถึงปราสาทที่ประทับของพระนางแล้ว พระนางยังเสด็จดำเนินมาเอง
ไม่ได้ พระนางก็ล้มฟุบลง กลิ้งเกลือกพระเศียรลงเหนือพระบาทพระพุทธเจ้า แล้วพิลาปรำพันกันแสงแทบ
สิ้นสมปฤดี
พระเจ้าสุทโธทนะทูลพระพุทธเจ้าถึงความดีของพระนางพิมพาว่า เป็นสตรีที่จงรักภักดีต่อ
พระพุทธเจ้า ไม่เคยแปรพระทัยเป็นอื่นเลยตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากไป พระพุทธเจ้าตรัสสนอง
พระดำรัสของพุทธบิดาว่า พระนางพิมพาจะได้ทรงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์แต่เฉพาะในชาตินี้ก็หา
ไม่ แม้ในอดีตชาติหนหลังอีกหลายชาติ พระนางก็เป็นคู่ทุกข์คู่ยากผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ตลอดมา แล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสชาดกอีกเป็นอันมากให้พระพุทธบิดา และพระนางพิมพาฟัง
พระนางฟังแล้ว ทรงสร่างโศกและคลายความเสียพระทัย ทรงเกิดปีติโสมนัสในพระธรรม
เทศนาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง พระนางพิมพายโสธรา ก็ได้
ทรงบรรลุพระโสดาบัน หรือโสดาปัตติผล
buddha027
เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า"
รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารทั้งหมด จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ชาวเมืองแตกตื่นกันโกลาหล ด้วยไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้าซึ่งกษัตริย์โดยพระ
Date: 4/6/2004
เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า"
รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารทั้งหมด จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ชาวเมืองแตกตื่นกันโกลาหล ด้วยไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้าซึ่งกษัตริย์โดยพระชาติกำเนิด จะเสด็จภิกขา แปลความหมายให้เป็นภาษาสามัญที่สุภาพหน่อยก็ว่า เที่ยวขอเขากิน
ปฐมสมโพธิรายงานเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า "ในขณะนั้นบรรดามหาชนชาวเมืองแจ้งว่า พระผู้เป็นเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารเที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต ดังนั้น ก็ชวนกันเปิดแกลแห่งเรือนทั้งหลายต่างๆ อันมีพื้น ๒ ชั้น แล ๓ ชั้น เป็นต้น แต่ล้วนขวนขวายในกิจที่จะเล็งแลดูพระสัพพัญญู อันเสด็จเที่ยวบิณฑบาตทั้งสิ้น"
แม้พระนางพิมพายโสธราผู้เคยเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระทัยไม่เคยสร่างพระโสกีตลอดมา ได้ยินเสียงชาวเมืองอื้ออึงถึงเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเมืองมาตามถนน ก็จูงพระหัตถ์ราหุลผู้โอรส ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๗ ปี เสด็จไปยังช่องพระแกล ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จนำหน้าพระสงฆ์มา พระนางก็ทรงชี้ให้ราหุลดู และตรัสบอกโอรสว่า "นั่นคือพระบิดาของเจ้า"
buddha028
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้ พระ
Date: 4/6/2004
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้ พระภิกษุนันทะ พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย
ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย
แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ ใจให้รุ่ม
ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน
ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน
แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขน
ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ
ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า ดูกรนันทะ เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ผู้มีเท้า
ดุจนกพิราบหรือไม่ ท่านพระนันทะทูลรับว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรนันทะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี หรือนางอัปสร
ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้ หูและจมูกขาด ฉันใด นาง
สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี ก็ฉันนั้นแล เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง
เสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น ที่แท้นาง
อัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า และน่าเลื่อมใสกว่า พระเจ้าข้า ฯ
พ. ยินดีเถิดนันทะ อภิรมย์เถิดนันทะ เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้ นางอัปสรประมาณ ๕๐๐
ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ ให้ได้นางอัปสรประ
มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้ ข้าพระองค์จักยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว
ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค โอรสของพระมาตุจฉา ประพฤติ
พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสรประ
มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย
วาทะว่าเป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น
ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออก
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี
พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า พระนันทะทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ
ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง
พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจ
ของเราว่า นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน พระ
นันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาส
วะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรนันทะ เมื่อใดแล จิต
ของเธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนาม คือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์
buddha029
นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล
บุรุษที่นั่งประนมมือวางคันธนูไว้กับพื้นอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฎอยู่ใน
ภาพแสดงนั้น คือนายขมังธนู (คำหน้าอ่านว่าขะหมัง) ขมัง แปลว่า นายพราน ขมังธนูก็คือนา
Date: 4/6/2004
นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล
บุรุษที่นั่งประนมมือวางคันธนูไว้กับพื้นอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฎอยู่ใน
ภาพแสดงนั้น คือนายขมังธนู (คำหน้าอ่านว่าขะหมัง) ขมัง แปลว่า นายพราน ขมังธนูก็คือนายพรานแม่น
ธนู อาวุธร้ายแรงที่คนใช้ยิงสังหารกันในสมัยพระพุทธเจ้าคือธนู
พระเทวทัตแนะนำอชาตศัตรู มกุฎราชกุมารให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา
ของพระองค์แล้ว จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ พระ
เทวทัตกราบทูลว่าพระพุทธเจ้าทรงพระชราแล้ว ขอให้ทรงมอบตำแหน่งกิจการบริหารคณะสงฆ์ให้แก่ตน
เสีย เลยถูกพระพุทธเจ้าทรงทักด้วย เขฬาสิกวาท เขฬาสิกวาทแปลตามตัวว่า ผู้กลืนกินก้อนน้ำลายก้อน
เสลดที่บ้วนทิ้งแล้วความหมายเป็นอย่างนี้คือ นักบวชนั้น เมื่อออกบวชได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละแล้วซึ่งทุกสิ่ง
ทุกอย่าง เช่น ลูก เมีย ทรัพย์ และตำแหน่งฐานันดรต่างๆ พระเทวทัตก็ชื่อว่าสละสิ่งเหล่านี้เสียแล้วเมื่อ
ตอนออกบวช แต่เหตุไฉนจึงย้อนกลับมายอมรับซึ่งเท่ากับมาขอกลืนกินสิ่งเหล่านี้อีก
พระเทวทัตฟังแล้วเสียใจ ผูกความอาฆาตพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น จึงวางแผนการกระทำรุนแรง
เพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายแผน เฉพาะด้านการเมืองนั้น พระเทวทัตได้ทำสำเร็จแล้วคือเกลี้ยกล่อม
อชาตศัตรูราชกุมารให้เลื่อมใสตนได้ แล้วราชกุมารผู้นี้ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา จนในที่สุดได้ขึ้นครอง
ราชย์ในเวลาต่อมา ที่ยังไม่สำเร็จก็คือการปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า
ขั้นแรกพระเทวทัตได้ว่าจ้างพวกขมังธนูหลายคน ล้วนแต่มือแม่นในการยิงธนูทั้งนั้น ไปลอบ
ยิงสังหารพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนารามในกรุงราชคฤห์ ทั้งนี้โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้เห็นด้วย แต่เมื่อ
พวกนายขมังธนูถืออาวุธมาถึงวัดที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดมือไม้อ่อนเปลี้ยไป
หมด ยิงไม่ลง เพราะพุทธานุภาพอันน่าเลื่อมใสข่มใจให้สยบยอบลง จึงต่างวางคันธนูแล้วกราบบาทพระ
พุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้พวกนายขมังธนูฟัง ฟังจบแล้วนายขมังธนูต่างได้สำเร็จโสดา
หมดทุกคน
buddha030
ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้างให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ แต่ด้วยเ
Date: 4/6/2004
ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตศิษย์ทรยศของพระพุทธองค์ได้ติดสินบนควาญช้างให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ตามแผนการ แต่ด้วยเมตาจิตของพระพุทธองค์ ช้างตกมันก็หายพยศ กลับคุกเข่าลงหมอบลงตรงพระพักตร์พระพุทธองค์
buddha031
พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า
เมื่อแผนการของพระเทวทัตในการปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าขั้นแรก คือ จ้างนายขมัง
ธนูลอบสังหารได้ล้มเหลวลง พระเทวทัตจึงลงมือทำเอง คือ แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ เพราะพระเทว
ทัตท
Date: 4/6/2004
พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า
เมื่อแผนการของพระเทวทัตในการปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าขั้นแรก คือ จ้างนายขมัง
ธนูลอบสังหารได้ล้มเหลวลง พระเทวทัตจึงลงมือทำเอง คือ แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ เพราะพระเทว
ทัตทราบได้แน่นอนว่า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่เชิงเขาเบื้องล่าง พระเทวทัตจึงกลิ้งก้อนหิน
ใหญ่ลงมา หมายให้ทับพระพุทธเจ้า ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย สะเก็ดหินก้อน
หนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทพระพุทธเจ้า จนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น
แผนการที่สองล้มเหลวลงอีก ต่อมา พระเทวทัตได้แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูสั่งเจ้าพนักงาน
เลี้ยงช้างปล่อยฝูงช้างดุร้ายออกไล่เหยียบพระพุทธเจ้า ในขณะที่เสด็จบิณฑบาต แต่ก็ล้มเหลวลงอีก เพราะ
ฝูงช้างไม่กล้าทำร้ายพระพุทธเจ้า
ตอนนี้เอง ความชั่วของพระเทวทัตเป็นข่าวแดงโร่ออกมา ประชาชนชาวเมืองต่างโจษจันกัน
เซ็งแซ่ว่า ผู้จ้างนายขมังธนูก็ดี ผู้กลิ้งก้อนหินกระทบพระบาทพระพุทธเจ้าก็ดี ผู้ปล่อยกระบวนช้างก็ดี แม้
ที่สุดพระเจ้าพิมพิสารที่เสด็จสวรรคตก็ดี เป็นแผนการของพระเทวทัตทั้งสิ้น แล้วต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า
พระราชาของเราคบพระที่ลามกเช่นนี้เองจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงได้ยินเสียงชาวเมืองตำหนิเช่นนั้น ทรงเกิดความละอายพระทัย จึงทรง
เลิกไปหาพระเทวทัต สำรับกับข้าวของหลวงที่เคยพระราชทานให้พระเทวทัต ก็ทรงสั่งให้เลิกนำไปถวาย
คนในเมืองนั้นก็ไม่มีใครใส่บาตรให้พระเทวทัตเลย แต่พระเทวทัตก็ยังไม่สิ้นมานะทิฐิ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธ
เจ้า ขอให้ทรงปฏิรูปศาสนาพุทธเสียใหม่ เช่น ให้ห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อและปลา เป็นต้น แต่ถูกพระพุทธเจ้า
ปฏิเสธ พระเทวทัตจึงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง
แต่ต่อมา สาวกพระเทวทัตที่เข้าใจผิด และเข้าไปเข้าข้างพระเทวทัต ได้พากันผละหนีกลับ
มาหาพระพุทธเจ้า เหลืออยู่กับพระเทวทัตไม่กี่รูป พระเทวทัตเสียใจมาก กระอักเลือดออกมา พอรู้ว่าตนจะ
ตายก็สำนึกผิด เลยให้สาวกที่เหลืออยู่หามตนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้ายแต่ไม่ทันเข้าเฝ้า
เพราะพอมาถึงสระท้ายวัด พระเทวทัตเกิดอยากอาบน้ำ พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี เลยถูกแผ่น
ดินสูบเสียก่อน
buddha032
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน
ในปีที่ ๕ นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ พระพุทธเจ้าเสด็จประ
ทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี ได้ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงประชวรหนักด้วย
พระโร
Date: 4/6/2004
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน
ในปีที่ ๕ นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ พระพุทธเจ้าเสด็จประ
ทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี ได้ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงประชวรหนักด้วย
พระโรคชรา ทรงปรารถนาจะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเจ้าศากยะและเป็นพระญาติ
อีกหลายรูปที่เสด็จออกบวชตามพระพุทธเจ้า เช่น พระอานนท์ พระนันทะ และสามเณรราหุลผู้เป็นหลาน
พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งพระอานนท์ให้แจ้งข่าวพระสงฆ์ ถึงเรื่องที่พระองค์จะเสด็จกรุงกบิล
พัสดุ์อีกวาระหนึ่ง
การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงเยี่ยมพุทธบิดาที่กำลังทรงประชวรครั้งนี้
ดูเหมือนจะเป็นครั้งสุดท้าย
เมื่อเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าเยี่ยมพุทธบิดา ซึ่งมีพระอาการเพียบหนักแล้ว ทรงแสดง
ธรรมโปรดพุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร ปฐมสมโพธิบันทึกพระธรรมเทศนาของพระพุทธ
เจ้าครั้งนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า
"ดูกรบพิตร อันว่าชีวิตแห่งมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนักดำรงอยู่ โดยพลันบ่มิได้ยั่งยืนอยู่ช้า
ครุวนาดุจสายฟ้าแลบอันปรากฎมิได้นาน..."
พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งทรงสำเร็จอนาคามิผลอยู่ก่อนแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้น
จนจบก็ได้สำเร็จอรหันต์ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ หลังจากนั้นอีก ๗ วันก็สิ้นพระชนม์ (ปรินิพพาน)
พระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำพระศพพุทธบิดา และถวายพระเพลิงพร้อมด้วยพระสงฆ์พระประ
ยูรญาติศากยะทั้งมวลจนเสร็จสิ้น
buddha033
มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว อีกสามเดือนจะนิพพาน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร คือ ทรงประกาศกำหนดวันจะเสด็จนิพพานไว้ล่วงหน้า
ถึง ๓ เดือน พลันก็ยังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่างๆ เกิดขนลุก ปฐมสมโพธิว่
Date: 4/6/2004
มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว อีกสามเดือนจะนิพพาน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร คือ ทรงประกาศกำหนดวันจะเสด็จนิพพานไว้ล่วงหน้า
ถึง ๓ เดือน พลันก็ยังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่างๆ เกิดขนลุก ปฐมสมโพธิว่ากลอง
ทิพย์ก็บันลือไปในอากาศ พระอานนท์ประสบเหตุอัศจรรย์นั้น จึงออกจากร่มพฤกษาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
ทูลถามถึงเหตุเกิดอัศจรรย์ คือแผ่นดินไหว พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า เหตุที่จะเกิดแผ่นดินไหว
นั้นมี ๘ อย่าง คือ
๑. ลมกำเริบ
๒. ผู้มีฤทธิ์บันดาล
๓. พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา
๔. พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
๕. พระพุทธเจ้าตรัสรู้
๖. พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา
๗. พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร
๘. พระพุทธเจ้านิพพาน
พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ในวันนี้ เกิดจากพระองค์ทรง
ปลงอายุสังขาร พอได้ฟังดังนั้น พระอานนท์นึกได้ คือ ได้สติตอนนี้ จึงจำได้ว่าพระพุทธเจ้าเคยตรัสบอก
ท่านว่า ธรรมะ ๔ ข้อที่เรียกว่า อิทธิบาท ๔ คือ ความพอใจ ความเพียง ความฝักใฝ่ และความใตร่
ตรอง ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญปฏิบัติให้เต็มเปี่ยมแล้ว ปรารถนาจะให้ชีวิตซึ่งถึงกำหนดดับหรือตาย ได้มีอายุยืน
ยาวต่อไปอีกระยะหนึ่งก็ย่อมทำได้
พอนึกได้เช่นนี้ พระอานนท์จึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้ทรงใช้อิทธิบาท ๔ นั้น
ต่อพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีก พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง ตรัสว่าพระองค์เคยทรงแสดงโอภาส
นิมิต (บอกใบ้) ให้พระอานนท์ทูลอารธนาพระองค์ให้มีพระชนมายุสืบต่อไปอีกก่อนหลายครั้ง และหลาย
แห่งแล้ว ซึ่งถ้าพระอานนท์นึกได้แล้วทูลอาราธนา พระองค์ก็จะทรงรับคำอาราธนาเพื่อต่อพระชนมายุ
ของพระองค์ออกไปอีก ว่าอย่างสามัญก็ว่า พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า "สายเสียแล้ว" เพราะ
พระองค์ได้ประกาศปลงอายุสังขารว่าจะนิพพานเสียแล้ว
buddha035
ภาพที่ ๗๐
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ
เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา สถานที่ทรงกำหนดว่าจะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย จนไปถึงเมือ
Date: 4/6/2004
ภาพที่ ๗๐
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ
เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา สถานที่ทรงกำหนดว่าจะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย จนไปถึงเมืองปาวาในวันขึ้น
๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันก่อนเสด็จนิพพานเพียงหนึ่งวัน
เสด็จเขัาไปประทับอาศัยที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะเป็นลูกนายช่าง
ทอง ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเสด็จมาพักอยู่ที่สวนมะม่วงของตน ก็ออกไป
เฝ้าและฟังธรรม ฟังจบแล้ว นายจุนทะกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์เสด็จไปรับภัตตา
หารที่บ้านของตนในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น
เวลาเช้าวันรุ่งขึ้น นายจุนทะได้ถวายอาหารพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่บ้านของตน อาหาร
อย่างหนึ่งที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้าในวันนี้มีชื่อว่า 'สูกรมัททวะ'
คัมภีร์ศาสนาพุทธชั้นอรรถกถาและมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลายยังไม่ลงรอยกันว่า 'สูกรมัทท
วะ' นั้นคืออะไรแน่ บางมติว่าได้แก่สุกรอ่อน (แปลตามตัว สูกร-สุกร หรือหมู มัททวะ-อ่อน) บางมติว่า
ได้แก่ เห็นชนิดหนึ่ง และบางมติว่าได้แก่ ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวาย
แก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด เช่น เทพเจ้า เป็นต้น เป็นอาหารประณีตชั้นหนึ่งยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส
พระพุทธเจ้าตรัสบอกนายจุนทะให้จัดถวายสูกรมัททวะนั้นถวายแต่เฉพาะพระองค์ ส่วน
อาหารอย่างอื่นให้จัดถวายพระสงฆ์ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้นายจุนทะนำเอาสูกร
มัททวะที่เหลือจากที่พระองค์ทรงฉันแล้ว ไปฝังเสียที่บ่อ เพราะคนอื่นนองจากพระองค์นั้นฉันแล้ว ร่าง
กายไม่อาจจะทำให้อาหารนั้นย่อยได้ เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้นายจุนทะฟังเป็นที่ชื่นชม
และรื่นเริงในกุศลบุญจริยาของ แล้วทรงอำลานายจุนทะเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินาราต่อไป
buddha036
ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย
พระอานนท์สร่างจากความเสียใจถึงร้องไห้แล้ว ท่านก็เข้าไปแจ้งข่าวในเมืองตามพระดำรัส
รับสั่งของพระพุทธเจ้า เพื่อรายงานให้เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทราบว่า พระพุทธเจ้าจะนิพพาน
ในตอนส
Date: 4/6/2004
ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย
พระอานนท์สร่างจากความเสียใจถึงร้องไห้แล้ว ท่านก็เข้าไปแจ้งข่าวในเมืองตามพระดำรัส
รับสั่งของพระพุทธเจ้า เพื่อรายงานให้เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทราบว่า พระพุทธเจ้าจะนิพพาน
ในตอนสิ้นสุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว แจ้งว่าใครจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ให้รีบไปเฝ้าเสียแต่ในขณะนี้ จะได้ไม่
เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่ได้เฝ้า
พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ที่กำลังประชุมกันอยู่ในเมือง ด้วยเรื่องพระพุทธเจ้านิพพานต่างก็ถือ
เครื่องสักการะมาเฝ้าพระพุทธเจ้ากันเนืองแน่นที่สุด แต่ละคนน้ำตานองหน้า ร่ำไห้รำพันต่างๆ นานา เมื่อ
ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพาน
ในจำนวนคนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งนี้ มีปริพาชกคนหนึ่งนามว่า 'สุภัททะปริพาชก' คือ
นักบวชนอกศาสนาพุทธพวกหนึ่ง
สุภัททะปริพาชกเข้าหาพระอานนท์ ภายหลังเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้เข้าเฝ้าแล้ว
บอกว่าใคร่จะขออนุญาตเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาบางอย่างซึ่งข้องใจมานาน พระอานนท์
ปฏิเสธปริพาชกผู้นี้ว่าอย่าเลย อย่าได้รบกวนพระพุทธเจ้าเลย เพราะตอนนี้กำลังจะนิพพาน
ขณะนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งทรงได้ยินการโต้ตอบกันระหว่างพระอานนท์กับสุภัททะปริพาชก
จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้สุภัททะปริพาชกเข้าเฝ้าได้ เมื่อสุภัททะปริพาชกได้
โอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน ปัญหาข้อหนึ่งว่าสมณะผู้ได้บรรลุมรรคผลใน
ศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนามีหรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มี แล้วทรงแสดงธรรมให้ปริพาชก
ฟังโดยละเอียด
สุภัททะปริพาชกฟังแล้วเสื่อมใส ทูลขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
ตรัสว่านักบวชในศาสนาอื่นจะมาขอบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาของพระองค์นั้น จะต้องอยู่ปริวาสครบ ๔
เดือนก่อนจึงจะบวชได้ สุภัททะปริพาชกกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าอย่าว่าแต่ ๔ เดือนเลย จะให้อยู่ถึง ๔ ปี
ก็ยอม
พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้พระสงฆ์จัดการบวชให้สุภัททะปริพาชกใน
คืนวันนั้น สุภัททะปริพาชกจึงนับเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า
buddha037
ปรินิพพาน
ทรงประทาน ปัจฉิมพุทธโอวาท ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” แก่พุทธบริษัท แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทายาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ ในวันเพ็ญเดือน 6
Date: 4/6/2004
ปรินิพพาน
ทรงประทาน ปัจฉิมพุทธโอวาท ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” แก่พุทธบริษัท แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทายาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ ในวันเพ็ญเดือน 6
buddha038
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้ พระ
Date: 9/13/2010
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้ พระภิกษุนันทะ พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย
ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย
แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ ใจให้รุ่ม
ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน
ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน
แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขน
ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ
ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า ดูกรนันทะ เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ผู้มีเท้า
ดุจนกพิราบหรือไม่ ท่านพระนันทะทูลรับว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรนันทะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี หรือนางอัปสร
ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้ หูและจมูกขาด ฉันใด นาง
สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี ก็ฉันนั้นแล เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง
เสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น ที่แท้นาง
อัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า และน่าเลื่อมใสกว่า พระเจ้าข้า ฯ
พ. ยินดีเถิดนันทะ อภิรมย์เถิดนันทะ เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้ นางอัปสรประมาณ ๕๐๐
ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ ให้ได้นางอัปสรประ
มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้ ข้าพระองค์จักยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว
ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค โอรสของพระมาตุจฉา ประพฤติ
พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสรประ
มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย
วาทะว่าเป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น
ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออก
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี
พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า พระนันทะทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ
ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง
พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจ
ของเราว่า นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน พระ
นันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาส
วะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรนันทะ เมื่อใดแล จิต
ของเธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนาม คือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ ฯ
buddha039
เมื่อพระสิทธัตถะกุมารมีพระชนม์เจริญ ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้แล้ว พระราชบิดาจึงทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร พระกุมารทรงเรียนได้ว่องไว จนสิ้นความรู้ของอาจารย์สิ้นเชิง ต่อมาได้ทรงแสดงศิลปธนู ซึ่งถือว่าเป็นวิชาสำคัญสำหรับกษัตริย์ ในท่ามกลางขัตติยวงศ์ศากยราช
Date: 9/13/2010
เมื่อพระสิทธัตถะกุมารมีพระชนม์เจริญ ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้แล้ว พระราชบิดาจึงทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร พระกุมารทรงเรียนได้ว่องไว จนสิ้นความรู้ของอาจารย์สิ้นเชิง ต่อมาได้ทรงแสดงศิลปธนู ซึ่งถือว่าเป็นวิชาสำคัญสำหรับกษัตริย์ ในท่ามกลางขัตติยวงศ์ศากยราช และเสนามุขอำมาตย์ แสดงความแกล้วกล้าสามารถเป็นเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมถึง ให้ปรากฏเป็นอัศจรรย์
buddha040
เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลา
พอสิ้นพระดำรัสถามของเจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีเสียงทูลขานรับ เจ้าของเสียงระบุชื่อ ตัวเองว่า
'ฉันนะ' นายฉันนะ คือ มหาดเล็กคนสนิทของเจ้าสิทธัตถะและเป็นสหชาติ คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชายด้วย
Date: 9/13/2010
เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลา
พอสิ้นพระดำรัสถามของเจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีเสียงทูลขานรับ เจ้าของเสียงระบุชื่อ ตัวเองว่า
'ฉันนะ' นายฉันนะ คือ มหาดเล็กคนสนิทของเจ้าสิทธัตถะและเป็นสหชาติ คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชายด้วย
ถ้าจะอุปมาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นดุจบทละคร นายฉันนะก็เป็นตัวละครที่สำคัญคน
หนึ่งในเรื่อง ความสำคัญนั้นคือ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่งที่รู้จัก
กันดี คือ เมื่อภายหลังเจ้าชายได้เสด็จออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นายฉันนะได้โดยเสด็จ
ออกบวชด้วย พระฉันนะกลายเป็นพระหัวแข็ง ใครว่ากล่าวไม่ได้นอกจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวเพราะพระ
ฉันนะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า เขาใช้สรรพนามเรียกเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้าติดปากมาจนกระทั่งบวช
เป็นพระอยู่เดียวว่า 'พระลูกเจ้า'
ในตอนที่กล่าวนี้ นายฉันนะนอนอยู่ที่ภายนอกห้องบรรทมของเจ้าชาย ศีรษะหนุนกับธรณี
พระทวาร เมื่อเจ้าชายรับสั่งให้ไปเตรียมผูกม้า นายฉันนะก็รับพระบัญชารีบลงไปที่โรงม้า
ส่วนเจ้าชายผู้ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่แล้วว่าจะเสด็จออกบวช เสด็จไปยังห้องบรรทมของ
พระนางพิมพายโสธราผู้ชายาก่อน เมื่อเสด็จไปถึง ทรงเผยบานพระทวารออก ทรงเห็นพระชายากำลัง
หลับสนิท พระนางทอดพระกรไว้เหนือเศียรราหุล โอรสผู้เพิ่งประสูติ พระองค์ทรงเกิดความเสน่หาอาลัย
ในพระชายาและพระโอรสที่เพิ่งได้ทอดพระเนตรเห็นเป็นครั้งแรกอย่างหนัก
ทรงหมายพระทัยว่า "จะทรงยกพระหัตถ์นางผู้ชนนี จะอุ้มเอาองค์โอรส..." ก็ทรงเกรงพระ
นางจะตื่นบรรทม และจะเป็นอุปสรรคแก่การเสด็จออกบวช จึงข่มพระทัยเสีย ได้ว่าอย่าเลย เมื่อได้สำเร็จ
เป็นพระพุทธเจ้า "จะกลับมาทัศนาการพระพักตร์พระลูกแก้วเมื่อภายหลัง"
แล้วเสด็จออกจากที่นั้น ลงจากปราสาทไปยังที่ที่นายฉันนะเตรียมผูกม้าไว้เรียบร้อยแล้ว
buddha041
เสด็จออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกผนวช ติดตามด้วยนายฉันนะ มหาดเล็กคนสนิท ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลี ถือเพศบรรพชิต ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
Date: 9/13/2010
เสด็จออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกผนวช ติดตามด้วยนายฉันนะ มหาดเล็กคนสนิท ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลี ถือเพศบรรพชิต ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
buddha042
เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน
Date: 9/13/2010
เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน
buddha043
ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่า พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้
เมื่อนางสุชาดากลับไปบ้านแล้ว พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงถือถาดทองข้าว
มธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จลงสรงน้ำ แล้วขึ้นมาประทับนั่งริมฝั่ง
Date: 9/13/2010
ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่า พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้
เมื่อนางสุชาดากลับไปบ้านแล้ว พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงถือถาดทองข้าว
มธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จลงสรงน้ำ แล้วขึ้นมาประทับนั่งริมฝั่ง ทรงปั้นข้าว
มธุปายาสออกเป็นปั้น รวมได้ ๔๙ ปั้น แล้วเสวยจนหมด ปฐมสมโพธิว่า 'เป็นอาหารที่คุ้มไปได้ ๗ วัน
๗ หน'
เสร็จแล้วทรงลอยถาดและทรงอธิษฐานว่า ถ้าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ถาดจงลอย
ทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก ไปจนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายไปจนถึงพิภพของ
กาฬนาคราช กระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์เสียงดังกริ๊ก
พระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ และพระกัสสปะ พระ
มหาบุรุษกำลังจะเป็นองค์ที่ ๔
กาฬนาคราชหลับมาตั่งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต จะตื่นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงถาด พอได้ยิน
ก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิดในโลกแล้ว คราวนี้ก็เหมือนกัน เมื่อได้ยินเสียงถาดของพระมหาบุรุษก็
งัวเงียขึ้นแล้วงึมงำว่า "เมื่อวานนี้พระชินสีห์ (หมายถึงพระกัสสปพุทธเจ้า) อุบัติในโลกพระองค์หนึ่ง แล้ว
ซ้ำบังเกิดอีกพระองค์หนึ่งเล่า" ลุกขึ้นมาไหว้พระพุทธเจ้าเกิดใหม่ แล้วก็หลับต่อไปอีก
ความที่กล่าวมาถึงตอนพระมหาบุรุษทรงลอยถาด แล้วถาดลอยทวนกระแสน้ำจนถึง กาฬนาค
ราชได้บาดาลได้ยินเสียงถาดตกลงนั้น ท่านพรรณาเป็นปุคคลาธิษฐานถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐานก็ได้
ความอย่างนี้คือ ถาดนั้นคือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า แม่น้ำคือ โลกหรือคนในโลก คำสั่งสอนหรือพระ
ศาสนาของพระพุทธเจ้า พาคนไหลทวนกระแสโลกไปสู่กระแสนิพพาน คือความพ้นทุกข์ที่ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ
และตาย ส่วนกระแสโลกไหลไปสู่ความเกิด แก่ เจ็บ และตาย พญานาคใต้บาดาลผู้หลับใหล คือสัตวโลกที่
หนาแน่นด้วยกิเลส เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติบังเกิดขึ้นมาในโลกก็รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า รู้แล้วก็หลับใหลไป
ด้วยอำนาจแห่งกิเลสต่อไปอีก
buddha044
เมื่อพระสิทธัตถะทรงตื่นบรรทมในเวลาดึกสงัดแห่งราตรีนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางบำเรอฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีเหล่านั้น นอนหลับอยู่เกลื่อนภายในปราสาท ซึ่งสร้างด้วยแสงประทีป บางนางอ้าปาก กัดฟัน น้ำลายไหล บางนางผ้านุ่งหลุด บางนางกอดพิณ บางนางก่ายเปิงมาง บางนางบ
Date: 9/13/2010
เมื่อพระสิทธัตถะทรงตื่นบรรทมในเวลาดึกสงัดแห่งราตรีนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางบำเรอฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีเหล่านั้น นอนหลับอยู่เกลื่อนภายในปราสาท ซึ่งสร้างด้วยแสงประทีป บางนางอ้าปาก กัดฟัน น้ำลายไหล บางนางผ้านุ่งหลุด บางนางกอดพิณ บางนางก่ายเปิงมาง บางนางบ่น ละเมอ นอนกลิ้งกลับไป
buddha045
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามาร
Date: 9/13/2010
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วม พวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป
buddha046
ทรงรับข้าวมธุปายาส
หลังจากแน่พระทัยว่า ทุกรกิริยามิใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเลิกบำเพ็ญ ขณะประทับ ณ โคนต้นไทรใกล้อุรุเวลาเสนานิคม นางสุชาดา ได้น้อมนำข้าวมธุปายาส (ข้าวหุงด้วยนมโคผสมน้ำผึ้ง) มาถวาย
Date: 9/13/2010
ทรงรับข้าวมธุปายาส
หลังจากแน่พระทัยว่า ทุกรกิริยามิใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเลิกบำเพ็ญ ขณะประทับ ณ โคนต้นไทรใกล้อุรุเวลาเสนานิคม นางสุชาดา ได้น้อมนำข้าวมธุปายาส (ข้าวหุงด้วยนมโคผสมน้ำผึ้ง) มาถวาย
buddha047
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ
เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา สถานที่ทรงกำหนดว่าจะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย จนไปถึงเมืองปาวาในวันข
Date: 9/13/2010
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ
เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา สถานที่ทรงกำหนดว่าจะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย จนไปถึงเมืองปาวาในวันขึ้น
๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันก่อนเสด็จนิพพานเพียงหนึ่งวัน
เสด็จเขัาไปประทับอาศัยที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะเป็นลูกนายช่าง
ทอง ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเสด็จมาพักอยู่ที่สวนมะม่วงของตน ก็ออกไป
เฝ้าและฟังธรรม ฟังจบแล้ว นายจุนทะกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์เสด็จไปรับภัตตา
หารที่บ้านของตนในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น
เวลาเช้าวันรุ่งขึ้น นายจุนทะได้ถวายอาหารพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่บ้านของตน อาหาร
อย่างหนึ่งที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้าในวันนี้มีชื่อว่า 'สูกรมัททวะ'
คัมภีร์ศาสนาพุทธชั้นอรรถกถาและมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลายยังไม่ลงรอยกันว่า 'สูกรมัทท
วะ' นั้นคืออะไรแน่ บางมติว่าได้แก่สุกรอ่อน (แปลตามตัว สูกร-สุกร หรือหมู มัททวะ-อ่อน) บางมติว่า
ได้แก่ เห็นชนิดหนึ่ง และบางมติว่าได้แก่ ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวาย
แก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด เช่น เทพเจ้า เป็นต้น เป็นอาหารประณีตชั้นหนึ่งยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส
พระพุทธเจ้าตรัสบอกนายจุนทะให้จัดถวายสูกรมัททวะนั้นถวายแต่เฉพาะพระองค์ ส่วน
อาหารอย่างอื่นให้จัดถวายพระสงฆ์ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้นายจุนทะนำเอาสูกร
มัททวะที่เหลือจากที่พระองค์ทรงฉันแล้ว ไปฝังเสียที่บ่อ เพราะคนอื่นนองจากพระองค์นั้นฉันแล้ว ร่าง
กายไม่อาจจะทำให้อาหารนั้นย่อยได้ เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้นายจุนทะฟังเป็นที่ชื่นชม
และรื่นเริงในกุศลบุญจริยาของ แล้วทรงอำลานายจุนทะเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินาราต่อไป
buddha048
ตรัสรู้
พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6
Date: 9/13/2010
ตรัสรู้
พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6
buddha049
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (โอวาทสำคัญ) โดยย่อคือ ไม่ทำชั่วทั้งปวง, ทำความดีให้พร้อม และทำจิตของตนให้ผ่องใส แก่พระอรหันต์สาวก 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
Date: 9/13/2010
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (โอวาทสำคัญ) โดยย่อคือ ไม่ทำชั่วทั้งปวง, ทำความดีให้พร้อม และทำจิตของตนให้ผ่องใส แก่พระอรหันต์สาวก 1,250 รูป ณ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
buddha050
ปรินิพพาน
ทรงประทาน ปัจฉิมพุทธโอวาท ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” แก่พุทธบริษัท แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทายาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ ในวันเพ็ญเดือน 6
Date: 9/14/2010
ปรินิพพาน
ทรงประทาน ปัจฉิมพุทธโอวาท ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” แก่พุทธบริษัท แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทายาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ ในวันเพ็ญเดือน 6
buddha051
เสด็จประทับร่มไม้มุจจลินท์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิที่ร่มไม้จิก อันมีนามว่า มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก 7 วัน
ช่วงนั้น ฝนตกพรำตลอด 7 วัน พญานาคนามว่า มุจจลินท์นาคราช มีอานุภาพมาก อ
Date: 9/14/2010
เสด็จประทับร่มไม้มุจจลินท์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิที่ร่มไม้จิก อันมีนามว่า มุจจลินท์ อันตั้งอยู่ในทิศบูรพาหรือทิศอาคเนย์ แห่งไม้มหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่นั้นอีก 7 วัน
ช่วงนั้น ฝนตกพรำตลอด 7 วัน พญานาคนามว่า มุจจลินท์นาคราช มีอานุภาพมาก อยู่ที่สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น มีความเลื่อมใสในรูปพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระรัศมีโอภาส อันงามกว่าเทวดาทั้งหลาย จึงเข้าไปใกล้ แล้วขดเข้าซึ่งขนดกาย แวดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ 7 รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบนพระเศียร มิให้ลมและฝน ถูกต้องพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งล่วง 7 วัน ฝนหายขาดแล้ว พญานาคก็คลายขนด จำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลีหน้าพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาว่า
“ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้เห็นธรรมแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมานะ คือความถือตัวออกให้หมดไป เป็นสุขอย่างยิ่ง”
buddha052
พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขและขับไล่ธิดามารทั้ง 3
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข บนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น 7 วัน
ครั้นล่วง 7 วันแล้ว จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นไ
Date: 9/14/2010
พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขและขับไล่ธิดามารทั้ง 3
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข บนรัตนบัลลังก์นั้นสิ้น 7 วัน
ครั้นล่วง 7 วันแล้ว จึงเสด็จลงจากรัตนบัลลังก์ ไปประทับอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของต้นไม้มหาโพธิ์ จ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ถึง 7 วัน สถานที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
จากนั้น ทรงนิมิตรัตนจงกรมเจดีย์ เสด็จจงกรมในทิศเหนือแห่งไม้มหาโพธิ์ และทรงจงกรมอยู่ที่นี้อีก 7 วัน
ต่อมา พระพุทธองค์เสด็จไปประทับนั่ง ที่รัตนฆรเจดีย์ เรือนแก้ว ในทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แห่งต้นไม้มหาโพธิ์ ซึ่งเทวดาเนรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด 7 วัน
ต่อนั้น จึงเสด็จไปประทับยังร่มไทร ซึ่งเป็นที่อาศัยพักร่มของคนเลี้ยงแพะ อันมีนามว่า อชปาลนิโครธ
ครั้งนั้น พญาวัสวดีมาร มีความน้อยใจ ที่ต้องพ่ายแพ้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อับอายแก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ต้องยอมให้ พระสิทธัตถะ ล่วงพ้นจากวิสัยของตนไปได้ มีใจโทมนัส จึงหนีออกจากเทวโลก ลงมานั่งในทางใหญ่แห่งหนึ่ง
ขณะนั้น ธิดามารทั้ง 3 นาง คือ นางตัณหา นางราคา นางอรดี ไม่เห็นพญาวัสวดีมาร ผู้เป็นบิดาอยู่ในเทวโลก จึงส่องลงมาที่โลกมนุษย์ด้วยตาทิพย์ ก็เห็นบิดาไปนั่งอยู่ที่ทางใหญ่
นางมารทั้ง 3 จึงพากันมาหาพญาวัสวดีมาร แล้วทูลถามว่า พระบิดาทรงทุกข์ด้วยเหตุประการใด
พญามารก็แจ้งความจริงใจแก่ธิดาทั้ง 3 นั้น ธิดามารทั้ง 3 จึงทูลว่า พระบิดาอย่าทรงทุกข์ร้อนไปเลย ข้าพเจ้าทั้ง 3 จะรับอาสาไปทำพระสิทธัตถะให้อยู่ในอำนาจ แล้วจะนำมาถวายพระองค์ให้จงได้
พญามารจึงตรัสว่า ลูกเอ๋ย แต่นี้ไป ไม่มีผู้ใดจะสามารถทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจเสียแล้ว
ธิดามารก็แย้งว่า ข้าพเจ้าทั้ง 3 คงจะพันธนาการพระสิทธัตถะด้วยบ่วง มีราคะเป็นต้น ให้อยู่ได้ เพราะข้าพเจ้าเป็นสตรี จะพยายามไปผูก พระสิทธัตถะ มาให้จงได้ในกาลบัดนี้ พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย
แล้วนางมารทั้ง 3 ก็ทูลลาพระบิดาเข้ามาใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ หม่อมฉันจะบำเรอพระยุคลบาทของพระองค์ถวาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เอาใจใส่ในถ้อยคำของธิดามารทั้ง 3 นั้นเลย ทั้งมิได้ลืมตาขึ้นดูธิดามารทั้ง 3 ด้วยซ้ำ คงประทับนั่งนิ่งอยู่เป็นปกติ
นางมารก็คิดว่า ปกติแล้ว บุรุษย่อมมีความเสน่หาในสตรี ที่มีสรีระรูปผิวพรรณสัณฐานต่าง ๆ กัน แล้วต่างก็เนรมิตเป็นนางงามต่าง ๆ แสดงท่าทางโดยมุ่งหมาย จะให้เป็นที่ต้องพระทัยปรารถนา เข้าทูลเล้าโลมดุจกาลก่อน
แต่ครั้นเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงตรัสประการใด ก็แสดงมายาหญิง โดยอาการพิลาศ ชำเลืองเนตร ฟ้อนรำ ขับร้องต่าง ๆ ทุกวิธีที่เห็นว่า จะคล้องจิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ แต่ก็ไม่สามารถ ทำให้จิตของพระพุทธองค์ผิดปกติ
ต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสขับธิดามารว่า
“ธิดามารเอย เจ้าจงออกไปเสียให้พ้นจากที่นี้ เจ้าจะได้ประโยชน์อะไร ในการที่มาพยายามเล้าโลมตถาคต ด้วยทุกสิ่งที่เจ้ามุ่งหมายนั้น ตถาคตได้ทำลายเสียแล้ว เจ้าควรไปเล้าโลมบุรุษผู้มีราคะบริบูรณ์ เมื่อตถาคตไม่มีร่องรอยอะไรเลย แล้วจะนำตถาคตไปด้วยร่องรอยอะไร ไม่เป็นผลที่มุ่งหมายอันใดแก่เจ้าดอก จงออกไปเสีย”
ทันใดนั้นเอง ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บันดาลให้ร่างกายอันงามของธิดามารทั้ง 3 นาง ซึ่งไม่เชื่อฟังพระโอวาท พยายามออดอ้อนอิดเอื้อนอยู่อีก ได้กลับกลายร่างเป็นหญิงชรา น่าสังเวช นางทั้ง 3 เมื่อได้เห็นร่างกายของตนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ก็ตกใจพากันหนี ออกจากที่นั้นทันที และกล่าวกันว่า เป็นความจริงดังพระบิดาของเรา ได้เตือนแล้วแต่แรกว่า ไม่มีใครที่จะมาทำพระสิทธัตถะ ให้อยู่ในอำนาจได้เลย แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น
buddha053
อสิตะดาบสเข้าเฝ้าเยี่ยมและถวายพยากรณ์
ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนึ่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ ได้สมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มาก เป็นกุลุปกาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางเข้าไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข
Date: 9/14/2010
อสิตะดาบสเข้าเฝ้าเยี่ยมและถวายพยากรณ์
ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนึ่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ ได้สมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มาก เป็นกุลุปกาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางเข้าไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะในพระราชนิเวศน์ ถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนมัสการท่านอสิตะดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรส กลับขึ้นไปปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตะดาบสเป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้น ก็สดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมาร ก็ทราบชัดด้วยปัญญาญาณ มีน้ำใจเบิกบาน หัวเราะออกมาได้ด้วยความปีติโสมนัส ประนมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตะดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน
พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกล ก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตะดาบสว่า อภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจท้าวมหาพรหม จึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชมชื่นอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตะดาบสคลายความยินดีโศกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะ เฉพาะหน้า
อสิตะดาบสก็ถวายพระพรพรรณนาถึงมูลเหตุ ว่าเพราะอาตมาพิจารณาเห็นเป็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบรูณ์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยพระกระแสแห่งธรรมเทศนา เป็นคุณที่น่าโสมนัสยิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้ว คงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
ครั้นอสิตะดาบทถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาว นำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกะมานพ ผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด
buddha054
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน
ในปีที่ ๕ นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ พระพุทธเจ้าเสด็จประ
ทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี ได้ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงประชวรหนักด้วย
พระโร
Date: 9/14/2010
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน
ในปีที่ ๕ นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ พระพุทธเจ้าเสด็จประ
ทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี ได้ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงประชวรหนักด้วย
พระโรคชรา ทรงปรารถนาจะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเจ้าศากยะและเป็นพระญาติ
อีกหลายรูปที่เสด็จออกบวชตามพระพุทธเจ้า เช่น พระอานนท์ พระนันทะ และสามเณรราหุลผู้เป็นหลาน
พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งพระอานนท์ให้แจ้งข่าวพระสงฆ์ ถึงเรื่องที่พระองค์จะเสด็จกรุงกบิล
พัสดุ์อีกวาระหนึ่ง
การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงเยี่ยมพุทธบิดาที่กำลังทรงประชวรครั้งนี้
ดูเหมือนจะเป็นครั้งสุดท้าย
เมื่อเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าเยี่ยมพุทธบิดา ซึ่งมีพระอาการเพียบหนักแล้ว ทรงแสดง
ธรรมโปรดพุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร ปฐมสมโพธิบันทึกพระธรรมเทศนาของพระพุทธ
เจ้าครั้งนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า
"ดูกรบพิตร อันว่าชีวิตแห่งมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนักดำรงอยู่ โดยพลันบ่มิได้ยั่งยืนอยู่ช้า
ครุวนาดุจสายฟ้าแลบอันปรากฎมิได้นาน..."
พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งทรงสำเร็จอนาคามิผลอยู่ก่อนแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้น
จนจบก็ได้สำเร็จอรหันต์ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ หลังจากนั้นอีก ๗ วันก็สิ้นพระชนม์ (ปรินิพพาน)
พระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำพระศพพุทธบิดา และถวายพระเพลิงพร้อมด้วยพระสงฆ์พระประ
ยูรญาติศากยะทั้งมวลจนเสร็จสิ้น
buddha055
ปฐมฌานสมาธิแรกของสิทธัตถะกุมาร
ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล งานแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญ ในงานพระราชพิธีนั้น ก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้า ซึ่งหน
Date: 9/14/2010
ปฐมฌานสมาธิแรกของสิทธัตถะกุมาร
ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล งานแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญ ในงานพระราชพิธีนั้น ก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้า ซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้น เป็นที่ประทับของพระกุมาร โดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงไถแรกนา บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงรักษาพระกุมาร พากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าพระองค์เดียว
เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุข ก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิด
buddha056
ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภายหลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าวเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จลงคือวันออกพรรษา เมือ
Date: 9/14/2010
ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน
ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภาย
หลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าวเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จลงคือวันออกพรรษา
เมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น ต่อมาได้
กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า 'อจลเจดีย์' เรียกอย่างไทยเราก็ว่า 'รอยพระพุทธบาท' ตามตำนานว่าที่นี่เป็น
ที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฎอยู่
ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้าคือพระอินทร์ได้เนรมิตบันได ๓ บันไดเป็นที่เสด็จลง คือ
บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้วมณี บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา บันไดเงินอยู่ด้านซ้ายสำ
หรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้า หัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ
เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร
หมู่คนทางเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าอย่างที่เห็นในภาพ จึงคือหมู่เทพที่ตามส่งเสด็จ เบื้อง
ซ้ายผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าคือท้าวมหาพรหม ผู้อุ้มบาตรนำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์ ผู้ถือ
พิณบรรเลงถัดมาคือปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตร ถัดมาเบื้องขวาคือมาตุลีเทพบุตร ซึ่งถือพานดอกไม้ทิพย์
โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิสุทธิเทพผู้บริสุทธิ์ นักเขียนศาสนาพุทธรุ่นต่อมาจึงถวายพระนาม
เฉลิมพระเกียรติอย่างหนึ่งว่า 'เทวาติเทพ' แปลว่า ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพทุกชั้น เทพต่างๆ ที่คนอินเดีย
ในสมัยนั้นนับถือกัน เช่น พระอินทร์ และท้าวมหาพรหม เป็นต้น
คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่าวันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำ
บุญตักบาตรกันในวันนี้ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกการตัก
บาตรนี้ว่า 'ตักบาตรเทโว' ย่อมาจากเทโวโรหณะ แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จ
ลงจากเทวโลกนั่นเอง
buddha057
ตรัสรู้
พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6
Date: 9/14/2010
ตรัสรู้
พระโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ณ โคนต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ได้ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) 4 ประการ ณ ย่ำรุ่งแห่งวันเพ็ญเดือน 6
buddha058
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา
ตอนนี้เป็นตอนที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทุกกรกิริยา กลุ่มคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์นั้นคือ
คณะปัญจวัคคีย์ มี ๕ คนด้วยกัน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งห
Date: 9/14/2010
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา
ตอนนี้เป็นตอนที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทุกกรกิริยา กลุ่มคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์นั้นคือ
คณะปัญจวัคคีย์ มี ๕ คนด้วยกัน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งหมดตาม
เสด็จพระมหาบุรุษออกมาเพื่อเฝ้าอุปัฏฐาก ส่วนผู้ที่ถือพิณอยู่บนอากาศนั้นคือพระอินทร์
คนหัวหน้าคือโกณฑัญญะ เป็นคนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน ที่เคยทำนายพระลักษณะ
ของเจ้าชายสิทธัตถะ ตอนนั้นยังหนุ่ม แต่ตอนนี้แก่มากแล้ว อีก ๔ คน เป็นลูกของพราหมณ์ ที่เหลือ คือ
ในจำนวนพราหมณ์ ๗ คนนั้น
ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดา จนถึง
ขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด ปางตาย คือ กัดฟัน กลั้นลมหายใจเข้าออก
และอดอาหาร
พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง เช่น คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ จนถึง
งดเสวยเลย แทบสิ้นพระชนม์ พระกายซูบผอม พระโลมา (ขน) รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้ม
กระดูก เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลง
ทรงทดลองดูแล้วก็ทรงประจักษ์ความจริง ความจริงที่ว่านี้ กวีท่านแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน
คือ พระอินทร์ถือพิณสามสายมาทรงดีดให้ฟัง สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด สายที่สองหย่อน
เกินไปดีดไม่ดัง สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง เพราะ
พระอินทร์ดีดพิณสายที่สาม (มัชฌิมาปฏิปทา) ดังออกมาเป็นความว่า ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ
ทำอย่างไรก็สีให้เกิดไฟไม่ได้ ถึงอยู่บนบก แต่ยังสด ก็สีให้เกิดไฟไม่ได้ ส่วนไม้แห้งและอยู่บนบกจึงสีให้
เกิดไฟได้ อย่างแรกเหมือนคนยังมีกิเลสและอยู่ครองเรือน อย่างที่สองเหมือนคนออกบวชแล้ว แต่ใจยัง
สดด้วยกิเลส อย่างที่สามเหมือนคนออกบวชแล้วใจเหี่ยวจากกิเลส
พอทรงเห็นหรือได้ยินเช่นนั้น พระมหาบุรุษจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นความ
เพียรทางกาย แล้วเริ่มกลับเสวยอาหารเพื่อบำเพ็ญความเพียรทางใจ พวกปัญจวัคคีย์ทราบเข้าก็เกิดเสื่อม
ศรัทธา หาว่าพระมหาบุรุษคลายความเพียรเวียนมาเพื่อกลับเป็นผู้มักมากเสียแล้ว เลยพากันละทิ้งหน้าที่
อุปัฏฐากหนีไปอยู่ที่อื่น
buddha059
ทรงแสดงปฐมเทศนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นการแสดงธรรมครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมเทศนา
Date: 9/14/2010
ทรงแสดงปฐมเทศนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่าด้วยอริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นการแสดงธรรมครั้งแรก จึงเรียกว่า ปฐมเทศนา
buddha060
ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสพระนคร ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต (ผู้สื่อข่าวที่ประเสริฐ) ทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ ทรงเห็นว่าโลกนี้เป็นทุกข์จึงมีพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
Date: 9/14/2010
ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสพระนคร ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต (ผู้สื่อข่าวที่ประเสริฐ) ทั้ง 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ ทรงเห็นว่าโลกนี้เป็นทุกข์จึงมีพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
buddha061
ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา
ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายเสด็จขึ้นทรง เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้ มีชื่อว่า 'กัณฐกะ' เป็นสหชาติ
คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชาย หนังสือปฐมสมโพธิบอกส่วนยาวของม้านี้ไว้ว่า "ยาวตั้งแต่คอจดท้
Date: 9/14/2010
ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา
ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายเสด็จขึ้นทรง เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้ มีชื่อว่า 'กัณฐกะ' เป็นสหชาติ
คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชาย หนังสือปฐมสมโพธิบอกส่วนยาวของม้านี้ไว้ว่า "ยาวตั้งแต่คอจดท้ายมีประมาณ
๑๘ ศอก" แต่ส่วนสูงกี่ศอก ไม่ได้บอกไว้ บอกแต่ว่า "โดยสูงก็สมควรกับกายอันยาว" และแจ้งถึงลักษณะ
อย่างอื่นไว้ว่า "สีขาวบริสุทธิ์ดุจสังข์อันขัดใหม่ ศีรษะนั้นดำดุจสีแห่งกา มีเกศาในมุขประเทศ (หน้า)
ขาวผ่องดุจไส้หญ้าปล้องงามสะอาด กอปรด้วยพหลกำลังมาก แลยืนประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วมณี"
ความที่ว่านั้นเป็นม้าในวรรณคดีที่กวีพรรณาให้เขื่อง และให้เป็นม้าพิเศษกว่าม้าสามัญ ถ้า
ถอดความเป็นอย่างธรรมดาก็ว่ากัณฐกะสูงใหญ่สีขาวเหมือนม้าทรงของจอมจักรพรรดิ หรือบุคคลผู้ทรง
ความเป็นเอกในเรื่อง
เมื่อเจ้าชายเสด็จเข้าใกล้ม้า ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบหลังกัณฐกะ ท่านว่าม้ากัณฐกะมีความ
ยินดีก็เปล่งเสียงร้องดังกึกก้องสนั่นไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ดังไปไกลถึงหนึ่งโยชน์ (ประมาณ ๔๐๐ เส้น)
โดยรอบ ถ้าเป็นไปตามนี้ ทำไมคนทั้งเมืองจึงไม่ตื่นกัน ท่านผู้รจนาวรรณคดีเรื่องนี้ท่านบอกว่า "เทพยดา
ก็กำบังเสียซึ่งเสียงนั้นให้อันตรธานหายไป..." ท่านใช้เทวดาเป็นเครื่องเก็บเสียงม้านั่นเอง
ถ้าถอดความจากเรื่องราวของวรรณคดีดังกล่าวออกมาก็คือ เจ้าชายทรงชำนาญในเรื่องม้า
มาก ทรงสามารถสะกดม้าไม่ให้ส่งเสียงร้องได้
จากนั้นก็เสด็จขึ้นหลังกัณฐกะ บ่ายพระพักตร์ออกไปทางประตูเมืองที่ชื่อ 'พระยาบาลทวาร'
โดยมีนายฉันนะมหาดเล็กตามเสด็จไปข้างหลัง วันที่เสด็จออกบวชนั้น หนังสือปฐมสมโพธิบอกว่าเป็นวัน
เพ็ญเดือน ๘ ท่านว่า "พระจันทร์แจ่มในท่ามกลางคัคนาดลประเทศ (ท้องฟ้า) ปราศจากเมฆ ภายใน
ห้องจักรวาลก็ขาวผ่องโอภาสด้วยนิศากรรังสี" นิศากรรังสี คือ แสงจันทร์
buddha062
พระนางสิริมหามายากำลังบรรทมหลับสนิทในแท่นที่บรรทมแล้ว ทรง
สุบินนิมิตว่าพระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงเข้ามาหาพระนาง
ปฐมสมโพธิพรรณาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า
"...มีเศวตหัตถีช้างหนึ่ง...ชูงวงอันจับบุณฑริกปทุมชาติ
Date: 9/14/2010
พระนางสิริมหามายากำลังบรรทมหลับสนิทในแท่นที่บรรทมแล้ว ทรง
สุบินนิมิตว่าพระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงเข้ามาหาพระนาง
ปฐมสมโพธิพรรณาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า
"...มีเศวตหัตถีช้างหนึ่ง...ชูงวงอันจับบุณฑริกปทุมชาติสีขาวเพิ่งบานใหม่ มีเสาวคนธ์หอม
ฟุ้งตรลบแล้วร้องโกญจนาทเข้ามาในกนกวิมาน แล้วกระทำประทักษิณพระองค์อันบรรทมถ้วนสามรอบ
แล้วเหมือนดุจเข้าไปในอุทร ฝ่ายทักษิณปรัศว์แห่งพระราชเทวี..."
ภายหลังโหราจารย์ประจำราชสำนักทำนายว่าเป็นสุบินนิมิตที่ดี จะมีพระราชโอรสผู้ประเสริฐ
อุบัติบังเกิด และเมื่อพระมารดาทรงครรภ์แล้ว ปฐมสมโพธิได้พรรณาตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จอยู่ในพระ
ครรภ์พระมารดาว่า
"...เหมือนดุจด้ายเหลือง อันร้อยเข้าไปในแก้วมณีอันผ่องใส เมื่อปรารถนาจะทอดพระเนตร
ในขณะใด ก็เห็นพระโอรสนั่งเป็นบัลลังก์สมาธิ (นั่งขัดสมาธิ) ผันพระพักตร์มาข้างหนึ่งพระอุทรแห่งพระ
มารดา ดุจสุวรรณปฎิมาอันสถิตอยู่บนฝักอ่อนในห้องแห่งกลีบปทุมชาติ แต่โพธิสัตว์มิได้เห็นองค์ชนนี..."
วันที่พระโพธิสัตวเจ้าเสด็จลงสู่พระครรภ์ กวีผู้แต่งเรื่องเฉลิมพระเกียรติได้พรรณาว่า มีเหตุ
มหัศจรรย์เกิดขึ้นเหมือนกับตอนประสูติ ตรัสรู้ และตรัสปฐมเทศนา จะต่างกันบ้างก็แต่ในรายละเอียดเท่านั้น
เช่นว่า กลองทิพย์บันลือลั่นทั่วท้องเวหา คนตาบอดกลับมองเห็น คนหูหนวกกลับ ได้ยิน
ตอนนั้น ถ้าจะถ่ายทอดพระพุทธเจ้าออกจากวรรณคดี มาเป็นพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติก็ว่า
กลองทิพย์บันลือลั่นนั้น คือ 'นิมิต' หมายถึง พระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าที่จะแผ่ไปทั่วโลก คนตาบอด
หูหนวก คือ คนที่มีกิเลส ได้สดับรสธรรมแล้วจะหายตาบอด หูหนวก หรือมีปัญญารู้แจ้งมองเห็นทางพ้น
ทุกข์นั้นเอง
buddha063
ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา
ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระ
ศาสนาโปรดชาวโลก เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน คือ แต่ง
เป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง ถ้าถอด
Date: 9/14/2010
ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา
ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระ
ศาสนาโปรดชาวโลก เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน คือ แต่ง
เป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน หรืออธิบายกันตรงๆ ก็คือ สหัมบดี
พรหมนั้น ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า
คือพระมหากรุณา และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่า จะทรงแสดงธรรม
หลังจากตัดสินพระทัยแล้ว จึงทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของของคนในโลก แล้วทรงเห็นความแตกต่างแห่ง
ระดับสติปัญญาของคนถึง ๔ ระดับ หรือ ๔ จำพวก
๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
๒. วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น
๓. เนยยะ ผู้พอแนะนำได้
๔. ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง
จำพวกที่หนึ่ง เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน ที่สอง เหมือนดอกบัวใต้น้ำ
ที่จะโผล่พ้นน้ำ และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น ที่สาม เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมา
บานในวันต่อๆ ไป และที่สี่ เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้ เพราะตก
เป็นภักษาของปลาและเต่าเสียก่อน
ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด ทรงมองเห็นภาพของ
ดาบสทั้งสอง ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย แต่ทั้งสองนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว ทรงเห็นเบญจวัคคีย์
ว่ายังมีชีวิตอยู่ จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็น
buddha064
พราหมณาจารย์รับพระลักษณะสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า พระสิทธัตถะ
ภายหลังเจ้าชายราชกุมารผู้พระราชโอรสประสูติได้ ๕ วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ พระราช
บิดาได้โปรดให้มีการประชุมใหญ่ ผู้เข้าประชุมมีพระญาติวงศ์ ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา มุข
อำมาตย์ ร
Date: 9/14/2010
พราหมณาจารย์รับพระลักษณะสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า พระสิทธัตถะ
ภายหลังเจ้าชายราชกุมารผู้พระราชโอรสประสูติได้ ๕ วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ พระราช
บิดาได้โปรดให้มีการประชุมใหญ่ ผู้เข้าประชุมมีพระญาติวงศ์ ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา มุข
อำมาตย์ ราชมนตรี และพราหมณ์ผู้รอบรู้ไตรเวท เพื่อทำพิธีมงคลในการนี้คือพราหมณ์ มีทั้งหมด ๑๐๘
แต่พราหณ์ผู้ทำหน้าที่นี้จริงๆ มีเพียง ๘ นอกนั้นมาในฐานะคล้ายพระอันดับ พราหมณ์ทั้ง ๘ มีรายนาม
ดังนี้ คือ
๑. รามพราหมณ์ ๕. โภชพราหมณ์
๒. ลักษณพราหมณ์ ๖. สุทัตตพราหมณ์
๓. อัญญพราหมณ์ ๗. สุยามพราหมณ์
๔. ธุชพราหมณ์ ๘. โกณทัญญพราหมณ์
ที่ประชุมลงมติขนานพระนามพระราชกุมารว่า 'เจ้าชายสิทธัตถะ' ซึ่งเป็นมงคลนาม มี
ความหมายสองนัย นัยหนึ่งหมายความว่า ผู้ทรงปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จสิ่งนั้นดังพระประสงค์ อีกนัย
หนึ่งหมายความว่าพระโอรสพระองค์แรกสมดังที่พระราชบิดาทรงปรารถนา แปลให้เป็นเข้าสำนวณไทย
ในภาษาสามัญก็ว่า ได้ลูกชายคนแรกสมตามที่ต้องการ
พระนามนี้ คนอินเดียทั่วไปในสมัยนั้นไม่นิยมเรียก แต่นิยมเรียกพระโคตรแทน 'พระโคตร'
ตรงกับภาษาไทยทุกวันนี้ว่า 'นามสกุล' คนจึงนิยมเรียกพระราชกุมารว่า 'เจ้าชายโคตมะ' หรือ 'โคดม'
พร้อมกันนี้ พราหมณ์ทั้ง ๘ ก็พยากรณ์พระลักษณะ คำพยากรณ์แตกความเห็นเห็นเป็น ๒
กลุ่ม พราหมณ์ ๗ คน ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึงหมายเลข ๗ ตามรายนามที่ระบุไว้แล้ว มีความเห็นเป็นเงื่อน
ไขในคำพยากรณ์ ถ้าเจ้าชายนี้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติ จักได้ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรม
เดชานุภาพมาก แต่ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก
มีพราหมณ์หนุ่มอายุเยาว์คนเดียวที่พยากรณ์เป็นมติเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขว่า พระราชกุมารนี้
จักเสด็จออกทรงผนวช และได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน พราหมณ์ผู้นี้ต่อมาได้เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์
ออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้า และได้เป็นพระอรหันตสาวกองค์แรกที่รู้จักกันในนามว่า 'พระอัญญาโกณ
ทัญญะ' นั่นเอง ที่เหลืออีก ๗ ไม่ได้ตามเสด็จออกบวช เพราะชรามาก อยู่ไม่ทันสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จ
ออกทรงผนวช
buddha065
ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก
เมื่อราหุลติดตามพระพุทธเจ้าไปถึงนิโครธาราม เพื่อทูลขอรัชทายาทและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
สมบัติของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่ราหุลขอนั้นเป็นสมบัติทางโลกไม่ยั่งยืน เต็ม
ไปด
Date: 9/14/2010
ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก
เมื่อราหุลติดตามพระพุทธเจ้าไปถึงนิโครธาราม เพื่อทูลขอรัชทายาทและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
สมบัติของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่ราหุลขอนั้นเป็นสมบัติทางโลกไม่ยั่งยืน เต็ม
ไปด้วยความทุกข์ในการปกปักรักษา ไม่เหมือนอริยทรัพย์ คือ ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรงพระพุทธ
ดำริว่า "จำเราจะให้ทายาทแห่งโลกุตตระแก่ราหุล"
พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสารีบุตรมา แล้วรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ทำหน้าที่บวช
สามเณรให้ราหุล ราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในทางพระพุทธศาสนา เมื่ออายุครบบวช ต่อมาได้บวชเป็น
พระภิกษุและได้สำเร็จอรหันต์
เมื่อคราวนันทะซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาหมงคล แต่ยังไม่ทันเข้าพิธี เพราะถูกพระพุทธเจ้าจับ
บวชเสียก่อนนั้น พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงทราบข่าวแล้วเสียพระทัยมาก แต่ไม่สู้กระไรนัก เพราะ
ยังทรงเห็นว่าราหุลกุมารรัชทายาทองค์ต่อไปยังมีอยู่ แต่ครั้นทรงทราบว่าราหุลกุมารได้บวชเป็นสามเณร
เสียแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงเสียพระทัยมากยิ่งกว่าเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และเมื่อนันทะ
บวช
พระเจ้าสุทโธทนะไม่อาจทรงระงับความทุกข์โทมนัสครั้งนี้ได้ จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่
นิโครธาราม แล้วทูลขอร้องพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดจะบวชลูกหลานชาวบ้าน ก็ได้โปรดให้พ่อ
แม่เขาได้อนุญาตให้ก่อน เพราะถ้าไม่อย่างนั้นจะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้เป็นพ่อแม่มาก ดุจที่พระองค์ได้
รับ เมื่อราหุลบวชในคราวนี้
พระพุทธเจ้าทรงรับตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงขอร้อง จึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้เป็นธรรม
เนียมสืบมาจนทุกวันนี้ว่า ถ้าใครจะบวช ไม่ว่าบวชเป็นพระ หรือบวชเป็นสามเณร ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อ
แม่ผู้ปกครอง ตลอจนญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือทุกวันนี้จึงเกิดจากกรณีดังกล่าวนี้
buddha066
Date: 9/14/2010
buddha067
Date: 9/14/2010
buddha068
Date: 9/14/2010
buddha069
Date: 9/14/2010
buddha070
Date: 9/14/2010
buddha071
Date: 9/14/2010
buddha072
Date: 9/14/2010
buddha074
New temple and Ashoka pillar Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสั
Date: 11/25/2013
New temple and Ashoka pillar
Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha
ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้
Siddhartha Gautama, the Lord Buddha, was born in 623 B.C. in the famous gardens of Lumbini, which soon became a place of pilgrimage. Among the pilgrims was the Indian emperor Ashoka, who erected one of his commemorative pillars there. The site is now being developed as a Buddhist pilgrimage centre, where the archaeological remains associated with the birth of the Lord Buddha form a central feature.
buddha076
Maya Devi Temple, Lumbini, Nepal Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุท
Date: 7/1/2010
Maya Devi Temple, Lumbini, Nepal Lumbini, the Birthplace of the Lord Buddha ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
buddha078
Mahabodhi temple, bodh gaya, India. Buddha attained enlightenment here. Bodh Gaya is a religious site and place of pilgrimage associated with the Mahabodhi Temple Complex in Gaya district in the Indian state of Bihar. It is famous as it is the place
Date: 10/9/2020
Mahabodhi temple, bodh gaya, India. Buddha attained enlightenment here.
Bodh Gaya is a religious site and place of pilgrimage associated with the Mahabodhi Temple Complex in Gaya district in the Indian state of Bihar. It is famous as it is the place where Gautama Buddha is said to have attained Enlightenment (Pali: bodhi) under what became known as the Bodhi Tree. Since antiquity, Bodh Gaya has remained the object of pilgrimage and veneration for both Hindus and Buddhists.
For Buddhists, Bodh Gaya is the most important of the main four pilgrimage sites related to the life of Gautama Buddha, the other three being Kushinagar, Lumbini, and Sarnath. In 2002, Mahabodhi Temple, located in Bodh Gaya, became a UNESCO World Heritage Site.
โพธคยา หรือชาวไทยนิยมเรียก พุทธคยา เป็นพื้นที่ทางศาสนาและสถานที่จาริกแสวงบุญที่มีความเกี่ยวเนื่องจากหมู่มหาโพธิวิหาร โพธคยาตั้งอยู่ในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาของศาสนาพุทธ ภายใต้ต้นโพธิ์ นับตั้งแต่ในอดีต โพธคยาได้สถานะเป็นสถานที่ทางศาสนาต่อทั้งชาวฮินดูและชาวพุทธมาตลอด
สำหรับชาวพุทธ โพธคยาเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญสี่แห่ง (สังเวชนียสถาน) อีกสามแห่งได้แก่ กุศินคร, ลุมพินี และ สารนาถ ในปี 2002 มหาโพธิวิหารซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโพธคยาได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก
buddha079
Maya Devi Temple in Lumbini, Nepal. It is the birthplace of Buddha. ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัม
Date: 8/12/2021
Maya Devi Temple in Lumbini, Nepal. It is the birthplace of Buddha.
ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้
Siddhartha Gautama, the Lord Buddha, was born in 623 B.C. in the famous gardens of Lumbini, which soon became a place of pilgrimage. Among the pilgrims was the Indian emperor Ashoka, who erected one of his commemorative pillars there. The site is now being developed as a Buddhist pilgrimage centre, where the archaeological remains associated with the birth of the Lord Buddha form a central feature.
buddha082
Mahabodhi temple, bodh gaya, India. Buddha attained enlightenment here. Bodh Gaya is a religious site and place of pilgrimage associated with the Mahabodhi Temple Complex in Gaya district in the Indian state of Bihar. It is famous as it is the plac
Date: 5/6/2022
Mahabodhi temple, bodh gaya, India. Buddha attained enlightenment here.
Bodh Gaya is a religious site and place of pilgrimage associated with the Mahabodhi Temple Complex in Gaya district in the Indian state of Bihar. It is famous as it is the place where Gautama Buddha is said to have attained Enlightenment (Pali: bodhi) under what became known as the Bodhi Tree. Since antiquity, Bodh Gaya has remained the object of pilgrimage and veneration for both Hindus and Buddhists.
For Buddhists, Bodh Gaya is the most important of the main four pilgrimage sites related to the life of Gautama Buddha, the other three being Kushinagar, Lumbini, and Sarnath. In 2002, Mahabodhi Temple, located in Bodh Gaya, became a UNESCO World Heritage Site.
โพธคยา หรือชาวไทยนิยมเรียก พุทธคยา เป็นพื้นที่ทางศาสนาและสถานที่จาริกแสวงบุญที่มีความเกี่ยวเนื่องจากหมู่มหาโพธิวิหาร โพธคยาตั้งอยู่ในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาของศาสนาพุทธ ภายใต้ต้นโพธิ์ นับตั้งแต่ในอดีต โพธคยาได้สถานะเป็นสถานที่ทางศาสนาต่อทั้งชาวฮินดูและชาวพุทธมาตลอด
สำหรับชาวพุทธ โพธคยาเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญสี่แห่ง (สังเวชนียสถาน) อีกสามแห่งได้แก่ กุศินคร, ลุมพินี และ สารนาถ ในปี 2002 มหาโพธิวิหารซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโพธคยาได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก
JavaScript must be enabled for this page to function properly. However, it seems JavaScript is either disabled or not supported by your browser. Please enable JavaScript by changing your browser options, then try again.